ทูน่ากระป๋องไทยติดปีกโตต่อเนื่อง แรงหนุนตลาดเดิมฟื้นตัวและดีมานด์ใหม่จากตะวันออกกลาง

ทูน่ากระป๋องไทยติดปีกโตต่อเนื่อง แรงหนุนตลาดเดิมฟื้นตัวและดีมานด์ใหม่จากตะวันออกกลาง

avatar

Administrator


142


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/ทูน่ากระป๋องไทยติดปีกโตต่อเนื่อง.pdf" target="_blank">ทูน่ากระป๋องไทยติดปีกโตต่อเนื่อง.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การส่งออกทูน่ากระป๋องของไทยมีแนวโน้มสดใสอย่างต่อเนื่อง โดยมีแรงหนุนสำคัญจากตลาดสหรัฐอเมริกาและตะวันออกกลาง และความต้องการกักตุนอาหารจากสถานการณ์ความขัดแย้งและสงครามในหลายจุด เช่น อิสราเอล-ปาเลสไตน์ และรัสเซีย-ยูเครน</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยสถิติ การส่งออกทูน่ากระป๋อง (พิกัดศุลกากร 160414) ของไทย ช่วง 9 เดือนแรก (ม.ค. - ก.ย. 2567) ของปี 2567 มีมูลค่ารวม 1,851 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 65,984 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า การส่งออกขยายตัวในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะในภูมิภาคอเมริกา เอเชีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา เรียงตามลำดับมูลค่าการส่งออกในช่วง 9 เดือนแรก ดังนี้&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>ภูมิภาคอเมริกา</strong> มีมูลค่าการส่งออก 632 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.90 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ปัจจัยสำคัญมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และแคนาดา ตลาดส่งออกหลักของไทยในภูมิภาคนี้ ได้แก่ 1) สหรัฐอเมริกา 402.39 ล้านเหรียญสหรัฐ <span style="color:#2ecc71">(+15.41%)</span> 2) แคนาดา 102.43 <span style="color:#2ecc71">(+40.57%)</span> และ 3) ชิลี 47.48 ล้านเหรียญสหรัฐ <span style="color:#2ecc71">(+6.01%)</span>&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>ภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลาง</strong> มีมูลค่าการส่งออก 618 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยเฉพาะในตะวันออกกลางที่มูลค่าการส่งออกขยายตัวถึงร้อยละ 38.97 โดยแรงหนุนที่ทำให้ดีมานด์ในตะวันออกกลางขยายตัว มาจากความกังวลต่อสถานการณ์สงคราม จึงกักตุนสินค้ามากขึ้น โดยเฉพาะ อิสราเอล <span style="color:#2ecc71">(+103.43%)</span> เลบานอน <span style="color:#2ecc71">(+72.97%)</span> และอิรัก <span style="color:#2ecc71">(+110.31%)</span> สำหรับในเอเชีย ญี่ปุ่นยังคงนำเข้าทูน่าในปริมาณสูง แต่ด้วยปัญหาการแข็งค่าของเงินเยน ทำให้มูลค่าการส่งออกลดลง &nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ตลาดส่งออกสำคัญของไทยในภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลาง ได้แก่ 1) ญี่ปุ่น 168.15 ล้านเหรียญสหรัฐ <span style="color:#e74c3c">(-17.88%)</span> 2) ซาอุดีอาระเบีย 110.91 ล้านเหรียญสหรัฐ <span style="color:#2ecc71">(+4.79%)</span> และ 3) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 100.91 ล้านเหรียญสหรัฐ <span style="color:#2ecc71">(+55.30%)</span></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>ภูมิภาคแอฟริกา</strong> มีมูลค่าการส่งออก 247 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.87 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า มีแรงกระตุ้นจากปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหาร และสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการเมืองของภูมิภาคนี้ ตลาดสำคัญในภูมิภาคนี้ ได้แก่ 1) ลิเบีย 124.62 ล้านเหรียญสหรัฐ <span style="color:#2ecc71">(+12.62%)</span> 2) อียิปต์ 75.97 ล้านเหรียญสหรัฐ <span style="color:#2ecc71">(+106.17%)</span> และ 3) แอฟริกาใต้ 28.87 ล้านเหรียญสหรัฐ <span style="color:#2ecc71">(+61.04%)</span><br />
&nbsp;<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>ภูมิภาคออสเตรเลียและโอเชียเนีย</strong> มีมูลค่าการส่งออก 184 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า มีปัจจัยหนุนจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาบริโภคอาหารพร้อมรับประทานมากขึ้น ตลาดส่งออกหลักในภูมิภาคนี้ ได้แก่ 1) ออสเตรเลีย 146.92 ล้านเหรียญสหรัฐ <span style="color:#2ecc71">(+18.81%)</span> 2) นิวซีแลนด์ 23.02 <span style="color:#2ecc71">(+31.50%)</span> และ3) ปาปัวนิวกินี 7.59 ล้านเหรียญสหรัฐ <span style="color:#2ecc71">(+186.86%)&nbsp;</span></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>ภูมิภาคยุโรป</strong> มีมูลค่าการส่งออก 170 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อนหน้า ปัจจัยหลักมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรป รวมถึงการกักตุนอาหารกระป๋อง จากสถานการณ์ความไม่แน่นอนระหว่างประเทศและภาวะสงครามที่ยืดเยื้อ โดยเฉพาะยูเครน <span style="color:#2ecc71">(+72.81%)</span> ตลาดส่งออกหลักในภูมิภาคนี้ ได้แก่ 1) สวิตเซอร์แลนด์ 30.92 ล้านเหรียญสหรัฐ <span style="color:#2ecc71">(+42.98%) </span>2) รัสเซีย 26.82 ล้านเหรียญสหรัฐ <span style="color:#2ecc71">(+19.70%)</span> และ 3) สหราชอาณาจักร 26.76 <span style="color:#2ecc71">(+66.54%)</span>&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ กล่าวว่า ไทยครองตำแหน่งผู้นำตลาดทูน่ากระป๋องมาอย่างยาวนาน มีปัจจัยสนับสนุนให้การส่งออกขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง อาทิ ค่าแรงที่แข่งขันได้ และการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ&nbsp;มาปรับใช้ในอุตสาหกรรม ทำให้ไทยสามารถพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการผลิตของสินค้าทูน่ากระป๋องจนได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ด้วยยอดสั่งซื้อสินค้าที่ไทยเป็นผู้นำตลาดทูน่ากระป๋องมาอย่างต่อเนื่อง</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ปัจจุบัน อุตสาหกรรมทูน่ากระป๋องของไทยยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น สหรัฐฯ ยุโรป และออสเตรเลีย รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับความสะดวกสบาย ราคาย่อมเยา แต่ยังคงใส่ใจต่อสุขภาพ ประกอบกับการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ และกระแสความกังวลสถานการณ์สงคราม ทำให้สินค้าทูน่ากระป๋องตอบโจทย์วิถีชีวิตในปัจจุบันและสถานการณ์โลก นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนที่มีนัยสำคัญ คือ การขยายตัวของการส่งออกสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยง ซึ่งไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารสุนัขและแมวอันดับต้น ๆ ของโลก และส่วนใหญ่เป็นอาหารเปียกที่ทำจากปลาต่าง ๆ รวมถึงทูน่า ทำให้ไทยมีการนำเข้าปลาทูน่าเป็นปริมาณมากในแต่ละปี ไทยจึงเป็นผู้เล่นที่มีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานทูน่าโลก</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในช่วงต่อไป อุตสาหกรรมทูน่ากระป๋องยังต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อาทิ ภาวะเงินเฟ้อและการแข็งค่าของเงินบาทที่กระทบกำลังซื้อและการส่งออก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทำให้ปริมาณปลาทูน่าลดลงและส่งผลต่อต้นทุนการผลิต ตลอดจนมาตรการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การทำประมงอย่างยั่งยืน (Sustainable Fishing) และมาตรการด้านแรงงาน (Fair Labor Practice) ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัว เตรียมแผนรองรับสถานการณ์ความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น โดยรักษาคุณภาพมาตรฐานสินค้า ใช้นวัตกรรมสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าทูน่ากระป๋องของไทย อันจะนำมาซึ่งโอกาสในการขยายตลาดทูน่ากระป๋องของไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน&nbsp;</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          การส่งออกทูน่ากระป๋องของไทยมีแนวโน้มสดใสอย่างต่อเนื่อง โดยมีแรงหนุนสำคัญจากตลาดสหรัฐอเมริกาและตะวันออกกลาง และความต้องการกักตุนอาหารจากสถานการณ์ความขัดแย้งและสงครามในหลายจุด เช่น อิสราเอล-ปาเลสไตน์ และรัสเซีย-ยูเครน

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยสถิติ การส่งออกทูน่ากระป๋อง (พิกัดศุลกากร 160414) ของไทย ช่วง 9 เดือนแรก (ม.ค. - ก.ย. 2567) ของปี 2567 มีมูลค่ารวม 1,851 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 65,984 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า การส่งออกขยายตัวในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะในภูมิภาคอเมริกา เอเชีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา เรียงตามลำดับมูลค่าการส่งออกในช่วง 9 เดือนแรก ดังนี้ 

          ภูมิภาคอเมริกา มีมูลค่าการส่งออก 632 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.90 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ปัจจัยสำคัญมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และแคนาดา ตลาดส่งออกหลักของไทยในภูมิภาคนี้ ได้แก่ 1) สหรัฐอเมริกา 402.39 ล้านเหรียญสหรัฐ (+15.41%) 2) แคนาดา 102.43 (+40.57%) และ 3) ชิลี 47.48 ล้านเหรียญสหรัฐ (+6.01%) 

          ภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลาง มีมูลค่าการส่งออก 618 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยเฉพาะในตะวันออกกลางที่มูลค่าการส่งออกขยายตัวถึงร้อยละ 38.97 โดยแรงหนุนที่ทำให้ดีมานด์ในตะวันออกกลางขยายตัว มาจากความกังวลต่อสถานการณ์สงคราม จึงกักตุนสินค้ามากขึ้น โดยเฉพาะ อิสราเอล (+103.43%) เลบานอน (+72.97%) และอิรัก (+110.31%) สำหรับในเอเชีย ญี่ปุ่นยังคงนำเข้าทูน่าในปริมาณสูง แต่ด้วยปัญหาการแข็งค่าของเงินเยน ทำให้มูลค่าการส่งออกลดลง  

          ตลาดส่งออกสำคัญของไทยในภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลาง ได้แก่ 1) ญี่ปุ่น 168.15 ล้านเหรียญสหรัฐ (-17.88%) 2) ซาอุดีอาระเบีย 110.91 ล้านเหรียญสหรัฐ (+4.79%) และ 3) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 100.91 ล้านเหรียญสหรัฐ (+55.30%)

          ภูมิภาคแอฟริกา มีมูลค่าการส่งออก 247 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.87 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า มีแรงกระตุ้นจากปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหาร และสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการเมืองของภูมิภาคนี้ ตลาดสำคัญในภูมิภาคนี้ ได้แก่ 1) ลิเบีย 124.62 ล้านเหรียญสหรัฐ (+12.62%) 2) อียิปต์ 75.97 ล้านเหรียญสหรัฐ (+106.17%) และ 3) แอฟริกาใต้ 28.87 ล้านเหรียญสหรัฐ (+61.04%)
 
          ภูมิภาคออสเตรเลียและโอเชียเนีย มีมูลค่าการส่งออก 184 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า มีปัจจัยหนุนจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาบริโภคอาหารพร้อมรับประทานมากขึ้น ตลาดส่งออกหลักในภูมิภาคนี้ ได้แก่ 1) ออสเตรเลีย 146.92 ล้านเหรียญสหรัฐ (+18.81%) 2) นิวซีแลนด์ 23.02 (+31.50%) และ3) ปาปัวนิวกินี 7.59 ล้านเหรียญสหรัฐ (+186.86%) 

          ภูมิภาคยุโรป มีมูลค่าการส่งออก 170 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อนหน้า ปัจจัยหลักมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรป รวมถึงการกักตุนอาหารกระป๋อง จากสถานการณ์ความไม่แน่นอนระหว่างประเทศและภาวะสงครามที่ยืดเยื้อ โดยเฉพาะยูเครน (+72.81%) ตลาดส่งออกหลักในภูมิภาคนี้ ได้แก่ 1) สวิตเซอร์แลนด์ 30.92 ล้านเหรียญสหรัฐ (+42.98%) 2) รัสเซีย 26.82 ล้านเหรียญสหรัฐ (+19.70%) และ 3) สหราชอาณาจักร 26.76 (+66.54%) 

          นายพูนพงษ์ กล่าวว่า ไทยครองตำแหน่งผู้นำตลาดทูน่ากระป๋องมาอย่างยาวนาน มีปัจจัยสนับสนุนให้การส่งออกขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง อาทิ ค่าแรงที่แข่งขันได้ และการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้ในอุตสาหกรรม ทำให้ไทยสามารถพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการผลิตของสินค้าทูน่ากระป๋องจนได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ด้วยยอดสั่งซื้อสินค้าที่ไทยเป็นผู้นำตลาดทูน่ากระป๋องมาอย่างต่อเนื่อง

          ปัจจุบัน อุตสาหกรรมทูน่ากระป๋องของไทยยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น สหรัฐฯ ยุโรป และออสเตรเลีย รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับความสะดวกสบาย ราคาย่อมเยา แต่ยังคงใส่ใจต่อสุขภาพ ประกอบกับการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ และกระแสความกังวลสถานการณ์สงคราม ทำให้สินค้าทูน่ากระป๋องตอบโจทย์วิถีชีวิตในปัจจุบันและสถานการณ์โลก นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนที่มีนัยสำคัญ คือ การขยายตัวของการส่งออกสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยง ซึ่งไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารสุนัขและแมวอันดับต้น ๆ ของโลก และส่วนใหญ่เป็นอาหารเปียกที่ทำจากปลาต่าง ๆ รวมถึงทูน่า ทำให้ไทยมีการนำเข้าปลาทูน่าเป็นปริมาณมากในแต่ละปี ไทยจึงเป็นผู้เล่นที่มีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานทูน่าโลก

          ในช่วงต่อไป อุตสาหกรรมทูน่ากระป๋องยังต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อาทิ ภาวะเงินเฟ้อและการแข็งค่าของเงินบาทที่กระทบกำลังซื้อและการส่งออก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทำให้ปริมาณปลาทูน่าลดลงและส่งผลต่อต้นทุนการผลิต ตลอดจนมาตรการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การทำประมงอย่างยั่งยืน (Sustainable Fishing) และมาตรการด้านแรงงาน (Fair Labor Practice) ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัว เตรียมแผนรองรับสถานการณ์ความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น โดยรักษาคุณภาพมาตรฐานสินค้า ใช้นวัตกรรมสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าทูน่ากระป๋องของไทย อันจะนำมาซึ่งโอกาสในการขยายตลาดทูน่ากระป๋องของไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน 

เผยแพร่เมื่อวันที่ 01 พฤศจิกายน 2567