โกโก้... โอกาสและความท้าทายของพืชปัจจุบัน

โกโก้... โอกาสและความท้าทายของพืชปัจจุบัน

avatar

Administrator


83


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/โกโก้ โอกาสและความท้าทายของพืชปัจจุบัน.pdf" target="_blank">โกโก้ โอกาสและความท้าทายของพืชปัจจุบัน.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (ผอ.สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค. ได้ติดตามสถานการณ์การค้าสินค้าโกโก้และช็อกโกแลตของโลกและไทย โดยข้อมูลจากศูนย์ส่งเสริมการนำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนา (Centre for the Promotion of Imports from Developing Countries (CBI)) ของสหภาพยุโรป ระบุว่าปัจจุบันตลาดโกโก้และช็อกโกแลตกำลังเติบโต โดยในปี 2566 <u>ตลาดเมล็ดโกโก้ทั่วโลก</u>มีมูลค่า 16,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะเติบโตกว่า 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2571 หรือเติบโตในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี สำหรับ<u>ตลาดช็อกโกแลตทั่วโลก</u> คาดว่าปี 2565 - 2573 จะเติบโตในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 4.4 ต่อปี&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปี 2566 ถึงกลางปี 2567 เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้เกิดภาวะภัยแล้งในพื้นที่ปลูกโกโก้ ส่งผลให้ผลผลิตโกโก้ของโลกลดลง และราคาโกโก้ในตลาดโลกได้เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยในเดือนตุลาคม 2567 ราคาโกโก้ในตลาดโลกอยู่ที่ 6.6 เหรียญสหรัฐ/กิโลกรัม เพิ่มขึ้นร้อยละ 83.3 จากปีก่อนหน้า</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ข้อมูลองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO ระบุว่า <strong>การผลิตโกโก้</strong> ปี 2565 ประเทศผู้ผลิตโกโก้ 5 อันดับแรกของโลก ได้แก่ (1) โกตติวัวร์ (ร้อยละ 37.9 ของปริมาณผลผลิตโกโก้ของโลก) (2) กานา (ร้อยละ 18.8) (3) อินโดนีเซีย (ร้อยละ 11.3) (4) เอกวาดอร์ (ร้อยละ 5.7) และ (5) แคเมอรูน (ร้อยละ 5.1) ตามลำดับ ส่วนไทยมีปริมาณการผลิต 1,256 ตัน คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.02 สำหรับปี 2566 ไทยมีผลผลิตโกโก้ 3,360 ตัน ขยายตัวร้อยละ 167.6 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา (1,256 ตัน) เนื่องจากมีพื้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตเพิ่มขึ้น โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ เช่น นครศรีธรรมราช พัทลุง และระนอง เป็นต้น</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>&nbsp;การค้าเมล็ดโกโก้ของโลก</strong> (พิกัดศุลกากร 1801) ในปี 2566 ประเทศผู้ส่งออกเมล็ดโกโก้ที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรกของโลก ได้แก่ (1) โกตดิวัวร์ มูลค่า 3,329 ล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 33.7 ของมูลค่าการส่งออกของโลก) (2) เอกวาดอร์ 1,172 ล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 11.9) (3) กานา 1,107 ล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 11.2) (4) แคเมอรูน 752 ล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 7.6) และ (5) เบลเยียม 692 ล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 7) ขณะที่ไทย มีมูลค่าการส่งออก 0.12 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 68 ของโลก และประเทศผู้นำเข้าเมล็ดโกโก้ที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรกของโลก ได้แก่ (1) เนเธอร์แลนด์ 2,184 ล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 20.1 ของมูลค่าการนำเข้าของโลก) (2) มาเลเซีย 1,494 ล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 13.8) (3) เยอรมนี 1,338 ล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 12.3) (4) เบลเยียม 977 ล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 9) และ (5) สหรัฐอเมริกา 804 ล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 7.4) สำหรับไทย มีมูลค่าการนำเข้า 0.02 ล้านเหรียญสหรัฐ&nbsp;<br />
เป็นผู้นำเข้าอันดับที่ 90 ของโลก</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;สถานการณ์<strong>การค้าโกโก้และของปรุงแต่งของไทย</strong> (พิกัดศุลกากร 18) ในปี 2566 ไทยส่งออกโกโก้และของปรุงแต่งที่ทำจากโกโก้ เป็นมูลค่า 87 ล้านเหรียญสหรัฐ (3,004 ล้านบาท) <u>สำหรับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม-กันยายน)</u> ไทยส่งออกโกโก้และของปรุงแต่งที่ทำจากโกโก้ เป็นมูลค่า 74 ล้านเหรียญสหรัฐ (2,630.7 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 จากปีก่อนหน้า ตลาดส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรกของไทย ได้แก่ (1) ญี่ปุ่น 22 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 42.2 (2) จีน 9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 40.3 (3) เมียนมา 6.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 19.4 (4) มาเลเซีย 4.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 6.1 และ (5) อินเดีย 4 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 9.4 นอกจากนี้ ยังมีตลาดศักยภาพอื่น ๆ ที่ขยายตัวดี ได้แก่ แคนาดา (ขยายตัวร้อยละ 392) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ร้อยละ 90.7) สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 46.3) อินโดนีเซีย (ร้อยละ 33.8) และรัสเซีย (ร้อยละ 20.2)&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผอ. สนค. กล่าวทิ้งท้ายว่า แม้ปัจจุบันไทยจะยังมีมูลค่าการค้าสินค้าโกโก้และของปรุงแต่งไม่มาก <strong>แต่จากแนวโน้มความต้องการในตลาดโลกที่เพิ่มมากขึ้นและมีแนวโน้มขยายตัวดี แสดงให้เห็นว่ายังมีโอกาสให้สินค้าโกโก้ของไทยเติบโตอีกมาก</strong> เนื่องจากโกโก้สามารถแปรรูปได้หลายประเภทในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงเป็นวัตถุดิบสำหรับกระบวนการผลิตเครื่องสำอางและยาบางชนิด ดังนั้น ทิศทางการค้าสินค้าโกโก้ของไทย นอกจากจะรักษาตลาดส่งออกสำคัญที่มีอยู่แล้ว ควรหาแนวทางเจาะตลาดใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ รวมถึงต้องส่งเสริมการผลิตเมล็ดโกโก้ในประเทศให้มีคุณภาพ พร้อมทั้งสนับสนุนการแปรรูปโกโก้ให้เป็นสินค้าที่หลากหลาย และได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของผู้บริโภค</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

         นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (ผอ.สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค. ได้ติดตามสถานการณ์การค้าสินค้าโกโก้และช็อกโกแลตของโลกและไทย โดยข้อมูลจากศูนย์ส่งเสริมการนำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนา (Centre for the Promotion of Imports from Developing Countries (CBI)) ของสหภาพยุโรป ระบุว่าปัจจุบันตลาดโกโก้และช็อกโกแลตกำลังเติบโต โดยในปี 2566 ตลาดเมล็ดโกโก้ทั่วโลกมีมูลค่า 16,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะเติบโตกว่า 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2571 หรือเติบโตในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี สำหรับตลาดช็อกโกแลตทั่วโลก คาดว่าปี 2565 - 2573 จะเติบโตในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 4.4 ต่อปี 

         ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปี 2566 ถึงกลางปี 2567 เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้เกิดภาวะภัยแล้งในพื้นที่ปลูกโกโก้ ส่งผลให้ผลผลิตโกโก้ของโลกลดลง และราคาโกโก้ในตลาดโลกได้เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยในเดือนตุลาคม 2567 ราคาโกโก้ในตลาดโลกอยู่ที่ 6.6 เหรียญสหรัฐ/กิโลกรัม เพิ่มขึ้นร้อยละ 83.3 จากปีก่อนหน้า

         ข้อมูลองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO ระบุว่า การผลิตโกโก้ ปี 2565 ประเทศผู้ผลิตโกโก้ 5 อันดับแรกของโลก ได้แก่ (1) โกตติวัวร์ (ร้อยละ 37.9 ของปริมาณผลผลิตโกโก้ของโลก) (2) กานา (ร้อยละ 18.8) (3) อินโดนีเซีย (ร้อยละ 11.3) (4) เอกวาดอร์ (ร้อยละ 5.7) และ (5) แคเมอรูน (ร้อยละ 5.1) ตามลำดับ ส่วนไทยมีปริมาณการผลิต 1,256 ตัน คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.02 สำหรับปี 2566 ไทยมีผลผลิตโกโก้ 3,360 ตัน ขยายตัวร้อยละ 167.6 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา (1,256 ตัน) เนื่องจากมีพื้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตเพิ่มขึ้น โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ เช่น นครศรีธรรมราช พัทลุง และระนอง เป็นต้น

         การค้าเมล็ดโกโก้ของโลก (พิกัดศุลกากร 1801) ในปี 2566 ประเทศผู้ส่งออกเมล็ดโกโก้ที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรกของโลก ได้แก่ (1) โกตดิวัวร์ มูลค่า 3,329 ล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 33.7 ของมูลค่าการส่งออกของโลก) (2) เอกวาดอร์ 1,172 ล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 11.9) (3) กานา 1,107 ล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 11.2) (4) แคเมอรูน 752 ล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 7.6) และ (5) เบลเยียม 692 ล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 7) ขณะที่ไทย มีมูลค่าการส่งออก 0.12 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 68 ของโลก และประเทศผู้นำเข้าเมล็ดโกโก้ที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรกของโลก ได้แก่ (1) เนเธอร์แลนด์ 2,184 ล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 20.1 ของมูลค่าการนำเข้าของโลก) (2) มาเลเซีย 1,494 ล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 13.8) (3) เยอรมนี 1,338 ล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 12.3) (4) เบลเยียม 977 ล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 9) และ (5) สหรัฐอเมริกา 804 ล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 7.4) สำหรับไทย มีมูลค่าการนำเข้า 0.02 ล้านเหรียญสหรัฐ 
เป็นผู้นำเข้าอันดับที่ 90 ของโลก

         สถานการณ์การค้าโกโก้และของปรุงแต่งของไทย (พิกัดศุลกากร 18) ในปี 2566 ไทยส่งออกโกโก้และของปรุงแต่งที่ทำจากโกโก้ เป็นมูลค่า 87 ล้านเหรียญสหรัฐ (3,004 ล้านบาท) สำหรับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม-กันยายน) ไทยส่งออกโกโก้และของปรุงแต่งที่ทำจากโกโก้ เป็นมูลค่า 74 ล้านเหรียญสหรัฐ (2,630.7 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 จากปีก่อนหน้า ตลาดส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรกของไทย ได้แก่ (1) ญี่ปุ่น 22 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 42.2 (2) จีน 9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 40.3 (3) เมียนมา 6.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 19.4 (4) มาเลเซีย 4.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 6.1 และ (5) อินเดีย 4 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 9.4 นอกจากนี้ ยังมีตลาดศักยภาพอื่น ๆ ที่ขยายตัวดี ได้แก่ แคนาดา (ขยายตัวร้อยละ 392) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ร้อยละ 90.7) สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 46.3) อินโดนีเซีย (ร้อยละ 33.8) และรัสเซีย (ร้อยละ 20.2) 

         ผอ. สนค. กล่าวทิ้งท้ายว่า แม้ปัจจุบันไทยจะยังมีมูลค่าการค้าสินค้าโกโก้และของปรุงแต่งไม่มาก แต่จากแนวโน้มความต้องการในตลาดโลกที่เพิ่มมากขึ้นและมีแนวโน้มขยายตัวดี แสดงให้เห็นว่ายังมีโอกาสให้สินค้าโกโก้ของไทยเติบโตอีกมาก เนื่องจากโกโก้สามารถแปรรูปได้หลายประเภทในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงเป็นวัตถุดิบสำหรับกระบวนการผลิตเครื่องสำอางและยาบางชนิด ดังนั้น ทิศทางการค้าสินค้าโกโก้ของไทย นอกจากจะรักษาตลาดส่งออกสำคัญที่มีอยู่แล้ว ควรหาแนวทางเจาะตลาดใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ รวมถึงต้องส่งเสริมการผลิตเมล็ดโกโก้ในประเทศให้มีคุณภาพ พร้อมทั้งสนับสนุนการแปรรูปโกโก้ให้เป็นสินค้าที่หลากหลาย และได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของผู้บริโภค

เผยแพร่เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2567