สนค. เกาะติดนโยบายทรัมป์ 2.0 ต่อภาคเกษตรและอาหารโลก

สนค. เกาะติดนโยบายทรัมป์ 2.0 ต่อภาคเกษตรและอาหารโลก

avatar

Administrator


247


<p>&nbsp;<strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/เกาะติดนโยบายทรัมป์ 2.0 ต่อภาคเกษตรและอาหารโลก.pdf" target="_blank">เกาะติดนโยบายทรัมป์ 2.0 ต่อภาคเกษตรและอาหารโลก.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อํานวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค. ได้ศึกษาและติดตามนโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน ซึ่งได้กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อีกครั้ง โดยมีกำหนดสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม 2568 ทำให้เกิดความกังวลอย่างมากต่อมาตรการทางการค้าที่อาจรุนแรงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจการค้าโลกและไทย รัฐบาลทรัมป์ยังยึดแนวนโยบายหลัก &ldquo;Make America Great Again&rdquo; โดยให้ความสำคัญและถือผลประโยชน์ของสหรัฐฯ เป็นที่ตั้ง เพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าของประเทศ</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สำหรับผลกระทบต่อภาคเกษตรและอาหารโลก สนค. ได้ศึกษารายงาน &ldquo;Trump 2.0: Impacts on Global Food and Agriculture&rdquo; ของ Rabobank สถาบันการเงินของเนเธอร์แลนด์ที่เชี่ยวชาญด้านธุรกิจเกษตรและอาหาร ระบุว่า การดำรงตำแหน่งรอบที่ 2 ของประธานาธิบดีทรัมป์ จะสร้างความซับซ้อนให้กับการค้าสินค้าเกษตรและอาหารในระดับโลก และอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ทางการค้า (Trade Relationships) การเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ของการส่งออก (Export Demand) ต้นทุนของธุรกิจและผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้น โดยการกลับมาของทรัมป์เป็นการส่งสัญญาณถึงการเพิ่มอัตราภาษีศุลกากร (Tariff) สำหรับสินค้านำเข้า การยกเลิกกฎระเบียบ (เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม) การลดภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทที่ผลิตสินค้าในสหรัฐฯ และการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศ ซึ่งเป็นนโยบายที่เคยกล่าวไว้ตอนหาเสียง โดยอาจนำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น การขยายตัวของ GDP สหรัฐฯ ที่ช้าลง และการขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้น&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผู้บริโภคและบริษัทผลิตอาหารในสหรัฐฯ จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ โดยเงินเฟ้อจะเป็นแรงกดดันให้ผู้บริโภคพิจารณาถึงคุณค่าของสินค้ามากขึ้น มุ่งเน้นที่ความสะดวกสบาย เลือกบริโภคสินค้าที่เป็นแบรนด์ร้านค้าปลีก (Private Label) สินค้าหรูหราในราคาไม่แพง (Affordable Luxuries) และออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านเป็นครั้งคราว สำหรับความต้องการบริการด้านอาหาร (Food Service) คาดว่าจะฟื้นตัวช่วงกลางปี 2568 เนื่องจากสถานะการเงินผู้บริโภคเริ่มปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคสหรัฐฯ จะยังคงเลือกซื้อสินค้าโดยเน้นที่คุณค่าของสินค้าต่อไป&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สำหรับบริษัทผลิตอาหารในสหรัฐฯ ที่พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ จะมีต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้มีกำไรลดลง บริษัทอาจต้องปรับส่วนประสมของผลิตภัณฑ์ (Product Mix)<sup>1</sup>&nbsp;ลดการนำเข้า เน้นใช้วัตถุดิบจากในสหรัฐฯ เป็นหลัก โดยเฉพาะบริษัทเล็กอาจปิดกิจการหรือควบรวมกิจการกับบริษัทขนาดใหญ่ สถานการณ์ดังกล่าวจะผลักดันให้บริษัทแสวงหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจ อาทิ ปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ ลงทุนด้านเทคโนโลยี ซึ่งจะทำให้เกิดนวัตกรรมและความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ในอุตสาหกรรม เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การที่รัฐบาลทรัมป์จะเก็บภาษีกับสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศในอัตรา 10-20% และสินค้าจากจีนที่สูงถึง 60% อาจส่งผลให้ประเทศที่ได้รับผลกระทบออกมาตรการตอบโต้ โดยสินค้าประมงและแปรรูปของสหรัฐฯ มักเป็นเป้าหมายหลักในการเก็บภาษีตอบโต้ ซึ่งเมื่อรวมกับการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จะส่งผลเชิงลบต่อการส่งออกสินค้าประมงและประมงแปรรูปของสหรัฐฯ&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นอกจากนี้ ห่วงโซ่อุปทานปัจจัยการผลิตทางการเกษตรของสหรัฐฯ อาจได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าที่รุนแรงขึ้น เนื่องจากจีนมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมเคมีเกษตร (Agrochemical Industry) ระดับโลก โดยการผลิตทั่วโลกกว่า 70% มีซัพพลายเชนที่เชื่อมโยงกับจีน (มีสัดส่วน 10% ของการส่งออกยูเรียทั่วโลก และสัดส่วน 15-25% ของการส่งออกฟอสเฟตทั่วโลก) ราคาเคมีเกษตรในสหรัฐฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ผลกระทบต่อราคาปุ๋ยของสหรัฐฯ อาจอยู่ในระดับปานกลางหรือเป็นบวก เนื่องจากสหรัฐฯ มีการผลิตปุ๋ยในประเทศเพิ่มขึ้น</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; จะเห็นได้ว่าสงครามการค้าส่งผลกระทบเชิงลบต่อการค้า แต่สินค้าเกษตรหลายชนิดถือเป็นสินค้าจำเป็น ประเทศต่าง ๆ ยังคงต้องการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหาร โดยจะเลือกนำเข้าตามความต้องการจากประเทศที่ให้ราคาดีที่สุด เช่น หากบราซิลมีผลผลิตถั่วเหลืองลดลงจากปัญหาสภาพภูมิอากาศ อาจส่งผลให้การส่งออกถั่วเหลืองของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น แม้ถั่วเหลืองนำเข้าจากสหรัฐฯ อาจมีภาษีนำเข้าที่สูงกว่าเนื่องจากมาตรการตอบโต้ของคู่ค้าก็ตาม ทั้งนี้ สหรัฐฯ เป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยมีการส่งออกไปยังกว่า 190 ประเทศทั่วโลก&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สำหรับการตอบโต้จากจีน หากสหรัฐฯ เพิ่มภาษีสินค้านำเข้า จีนมีแนวโน้มที่จะตอบโต้โดยมุ่งที่สินค้ากลุ่มธัญพืชและพืชน้ำมัน โดยเฉพาะถั่วเหลือง (การส่งออกถั่วเหลืองจากสหรัฐฯ ไปจีน มีสัดส่วนถึง 51.2% ของมูลค่าการส่งออกถั่วเหลืองทั้งหมดของสหรัฐฯ) โดยในครั้งนี้ ผลกระทบต่อจีนจะไม่รุนแรงเท่าสงครามการค้ารอบที่แล้ว เนื่องจากจีนมีปริมาณสต็อกสำรองในประเทศเพิ่มขึ้น และผู้นำเข้าจีนอาจนำเข้าถั่วเหลืองจากสหรัฐฯ ล่วงหน้า ก่อนจะมีการขึ้นภาษี หรือเปลี่ยนไปนำเข้าถั่วเหลืองจากบราซิลทดแทนหากสงครามการค้าปะทุขึ้น</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในส่วนของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia: SEA) หากสหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้า 20% จะทำให้สินค้าที่นำเข้าจาก SEA มีต้นทุนสูงขึ้น โดยมีสินค้าเกษตรสำคัญที่สหรัฐฯ นำเข้าจากภูมิภาคนี้ เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กาแฟ ยางพารา ข้าวหอมมะลิ และข้าวขาว อย่างไรก็ตาม คาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มายังสหรัฐฯ จะค่อนข้างคงที่ เนื่องจากสหรัฐฯ ไม่มีการผลิตสินค้าเกษตรเหล่านี้ในประเทศ และมีทางเลือกที่จำกัด&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผอ. สนค. กล่าวทิ้งท้ายว่า สงครามการค้า Trump 2.0 ยังมีความไม่แน่นอน โดยเฉพาะนโยบายที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรของทรัมป์ แต่ไทยในฐานะผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารรายใหญ่แห่งหนึ่งของโลก โดยมีจีนและสหรัฐฯ เป็นคู่ค้าอันดับที่ 1 และ 2 ต้องติดตามสถานการณ์การค้า นโยบายที่สำคัญ รวมทั้งแนวโน้มการใช้มาตรการและการตอบโต้ของทั้งสหรัฐฯ จีน และประเทศต่าง ๆ ในอนาคตอย่างใกล้ชิด เพื่อแสวงหาโอกาสและเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อไป</p>

<hr />
<p><sup>1</sup> ส่วนประสมของผลิตภัณฑ์ (Product Mix) หมายถึง สินค้าทั้งหมดของบริษัทที่ผลิต/ จำหน่ายแก่ผู้บริโภค ซึ่งอาจประกอบด้วยหลายกลุ่มผลิตภัณฑ์<br />
&nbsp;</p>

 ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อํานวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค. ได้ศึกษาและติดตามนโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน ซึ่งได้กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อีกครั้ง โดยมีกำหนดสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม 2568 ทำให้เกิดความกังวลอย่างมากต่อมาตรการทางการค้าที่อาจรุนแรงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจการค้าโลกและไทย รัฐบาลทรัมป์ยังยึดแนวนโยบายหลัก “Make America Great Again” โดยให้ความสำคัญและถือผลประโยชน์ของสหรัฐฯ เป็นที่ตั้ง เพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าของประเทศ

          สำหรับผลกระทบต่อภาคเกษตรและอาหารโลก สนค. ได้ศึกษารายงาน “Trump 2.0: Impacts on Global Food and Agriculture” ของ Rabobank สถาบันการเงินของเนเธอร์แลนด์ที่เชี่ยวชาญด้านธุรกิจเกษตรและอาหาร ระบุว่า การดำรงตำแหน่งรอบที่ 2 ของประธานาธิบดีทรัมป์ จะสร้างความซับซ้อนให้กับการค้าสินค้าเกษตรและอาหารในระดับโลก และอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ทางการค้า (Trade Relationships) การเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ของการส่งออก (Export Demand) ต้นทุนของธุรกิจและผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้น โดยการกลับมาของทรัมป์เป็นการส่งสัญญาณถึงการเพิ่มอัตราภาษีศุลกากร (Tariff) สำหรับสินค้านำเข้า การยกเลิกกฎระเบียบ (เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม) การลดภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทที่ผลิตสินค้าในสหรัฐฯ และการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศ ซึ่งเป็นนโยบายที่เคยกล่าวไว้ตอนหาเสียง โดยอาจนำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น การขยายตัวของ GDP สหรัฐฯ ที่ช้าลง และการขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้น 

          ผู้บริโภคและบริษัทผลิตอาหารในสหรัฐฯ จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ โดยเงินเฟ้อจะเป็นแรงกดดันให้ผู้บริโภคพิจารณาถึงคุณค่าของสินค้ามากขึ้น มุ่งเน้นที่ความสะดวกสบาย เลือกบริโภคสินค้าที่เป็นแบรนด์ร้านค้าปลีก (Private Label) สินค้าหรูหราในราคาไม่แพง (Affordable Luxuries) และออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านเป็นครั้งคราว สำหรับความต้องการบริการด้านอาหาร (Food Service) คาดว่าจะฟื้นตัวช่วงกลางปี 2568 เนื่องจากสถานะการเงินผู้บริโภคเริ่มปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคสหรัฐฯ จะยังคงเลือกซื้อสินค้าโดยเน้นที่คุณค่าของสินค้าต่อไป 

          สำหรับบริษัทผลิตอาหารในสหรัฐฯ ที่พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ จะมีต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้มีกำไรลดลง บริษัทอาจต้องปรับส่วนประสมของผลิตภัณฑ์ (Product Mix)1 ลดการนำเข้า เน้นใช้วัตถุดิบจากในสหรัฐฯ เป็นหลัก โดยเฉพาะบริษัทเล็กอาจปิดกิจการหรือควบรวมกิจการกับบริษัทขนาดใหญ่ สถานการณ์ดังกล่าวจะผลักดันให้บริษัทแสวงหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจ อาทิ ปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ ลงทุนด้านเทคโนโลยี ซึ่งจะทำให้เกิดนวัตกรรมและความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ในอุตสาหกรรม เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน

          การที่รัฐบาลทรัมป์จะเก็บภาษีกับสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศในอัตรา 10-20% และสินค้าจากจีนที่สูงถึง 60% อาจส่งผลให้ประเทศที่ได้รับผลกระทบออกมาตรการตอบโต้ โดยสินค้าประมงและแปรรูปของสหรัฐฯ มักเป็นเป้าหมายหลักในการเก็บภาษีตอบโต้ ซึ่งเมื่อรวมกับการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จะส่งผลเชิงลบต่อการส่งออกสินค้าประมงและประมงแปรรูปของสหรัฐฯ 

          นอกจากนี้ ห่วงโซ่อุปทานปัจจัยการผลิตทางการเกษตรของสหรัฐฯ อาจได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าที่รุนแรงขึ้น เนื่องจากจีนมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมเคมีเกษตร (Agrochemical Industry) ระดับโลก โดยการผลิตทั่วโลกกว่า 70% มีซัพพลายเชนที่เชื่อมโยงกับจีน (มีสัดส่วน 10% ของการส่งออกยูเรียทั่วโลก และสัดส่วน 15-25% ของการส่งออกฟอสเฟตทั่วโลก) ราคาเคมีเกษตรในสหรัฐฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ผลกระทบต่อราคาปุ๋ยของสหรัฐฯ อาจอยู่ในระดับปานกลางหรือเป็นบวก เนื่องจากสหรัฐฯ มีการผลิตปุ๋ยในประเทศเพิ่มขึ้น

          จะเห็นได้ว่าสงครามการค้าส่งผลกระทบเชิงลบต่อการค้า แต่สินค้าเกษตรหลายชนิดถือเป็นสินค้าจำเป็น ประเทศต่าง ๆ ยังคงต้องการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหาร โดยจะเลือกนำเข้าตามความต้องการจากประเทศที่ให้ราคาดีที่สุด เช่น หากบราซิลมีผลผลิตถั่วเหลืองลดลงจากปัญหาสภาพภูมิอากาศ อาจส่งผลให้การส่งออกถั่วเหลืองของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น แม้ถั่วเหลืองนำเข้าจากสหรัฐฯ อาจมีภาษีนำเข้าที่สูงกว่าเนื่องจากมาตรการตอบโต้ของคู่ค้าก็ตาม ทั้งนี้ สหรัฐฯ เป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยมีการส่งออกไปยังกว่า 190 ประเทศทั่วโลก 

          สำหรับการตอบโต้จากจีน หากสหรัฐฯ เพิ่มภาษีสินค้านำเข้า จีนมีแนวโน้มที่จะตอบโต้โดยมุ่งที่สินค้ากลุ่มธัญพืชและพืชน้ำมัน โดยเฉพาะถั่วเหลือง (การส่งออกถั่วเหลืองจากสหรัฐฯ ไปจีน มีสัดส่วนถึง 51.2% ของมูลค่าการส่งออกถั่วเหลืองทั้งหมดของสหรัฐฯ) โดยในครั้งนี้ ผลกระทบต่อจีนจะไม่รุนแรงเท่าสงครามการค้ารอบที่แล้ว เนื่องจากจีนมีปริมาณสต็อกสำรองในประเทศเพิ่มขึ้น และผู้นำเข้าจีนอาจนำเข้าถั่วเหลืองจากสหรัฐฯ ล่วงหน้า ก่อนจะมีการขึ้นภาษี หรือเปลี่ยนไปนำเข้าถั่วเหลืองจากบราซิลทดแทนหากสงครามการค้าปะทุขึ้น

          ในส่วนของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia: SEA) หากสหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้า 20% จะทำให้สินค้าที่นำเข้าจาก SEA มีต้นทุนสูงขึ้น โดยมีสินค้าเกษตรสำคัญที่สหรัฐฯ นำเข้าจากภูมิภาคนี้ เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กาแฟ ยางพารา ข้าวหอมมะลิ และข้าวขาว อย่างไรก็ตาม คาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มายังสหรัฐฯ จะค่อนข้างคงที่ เนื่องจากสหรัฐฯ ไม่มีการผลิตสินค้าเกษตรเหล่านี้ในประเทศ และมีทางเลือกที่จำกัด 

          ผอ. สนค. กล่าวทิ้งท้ายว่า สงครามการค้า Trump 2.0 ยังมีความไม่แน่นอน โดยเฉพาะนโยบายที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรของทรัมป์ แต่ไทยในฐานะผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารรายใหญ่แห่งหนึ่งของโลก โดยมีจีนและสหรัฐฯ เป็นคู่ค้าอันดับที่ 1 และ 2 ต้องติดตามสถานการณ์การค้า นโยบายที่สำคัญ รวมทั้งแนวโน้มการใช้มาตรการและการตอบโต้ของทั้งสหรัฐฯ จีน และประเทศต่าง ๆ ในอนาคตอย่างใกล้ชิด เพื่อแสวงหาโอกาสและเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อไป


1 ส่วนประสมของผลิตภัณฑ์ (Product Mix) หมายถึง สินค้าทั้งหมดของบริษัทที่ผลิต/ จำหน่ายแก่ผู้บริโภค ซึ่งอาจประกอบด้วยหลายกลุ่มผลิตภัณฑ์
 

เผยแพร่เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567