พาณิชย์ - สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย – สมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย ผนึกพลัง เปิดตัวบริการน้องใหม่  “ถอดรหัสอาหารแห่งอนาคต” บน “คิดค้า.com” ปักหมุดหนุนครัวไทยสู่ครัวโลก

พาณิชย์ - สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย – สมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย ผนึกพลัง เปิดตัวบริการน้องใหม่  “ถอดรหัสอาหารแห่งอนาคต” บน “คิดค้า.com” ปักหมุดหนุนครัวไทยสู่ครัวโลก

avatar

Administrator


138


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/พาณิชย์ - สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย – สมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย ผนึกพลัง.pdf" target="_blank">พาณิชย์ - สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย &ndash; สมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย ผนึกพลัง.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค. ร่วมกับคณะกรรมการอาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย โดยมี ดร.วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา นายกสมาคมฯ เป็นแกนนำหลักของภาคเอกชน ร่วมกันพัฒนาและจัดทำบริการข้อมูลการค้าสินค้าอาหารแห่งอนาคต ในรูปแบบ &ldquo;คิดค้า Briefing&rdquo; ย่อยข้อมูลการค้าเชิงลึกรูปแบบการเล่าเรื่อง (Data Storytelling) หัวข้อ<strong> &ldquo;ถอดรหัสอาหารแห่งอนาคต&rdquo; </strong>นำเสนอข้อมูลการค้าสินอาหารอนาคตในภาพรวม และ 4 กลุ่มสินค้าย่อย ได้แก่ (1) อาหารเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและสารประกอบเชิงฟังก์ชัน (2) อาหารทางการแพทย์และอาหารเฉพาะบุคคล (3) โปรตีนทางเลือก และ (4) ผลิตภัณฑ์อินทรีย์และอาหารไม่ปรุงแต่ง เน้นให้ข้อมูลปริมาณและมูลค่าการค้า อัตราการเติบโต และตลาดสำคัญของสินค้าแต่ละกลุ่ม นำเสนอข้อมูลแบบเข้าใจง่ายและใช้งานสะดวก โดยเปิดตัวให้บริการแล้วบนเว็บไซต์<strong> คิดค้า.com&nbsp;</strong></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>ข้อมูลภาพรวมการค้าสินค้าอาหารแห่งอนาคตของไทยจากแดชบอร์ดอาหารแห่งอนาคต</strong> พบว่า 10 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม - ตุลาคม) <u>การส่งออก</u> มีมูลค่า 3,794.39 ล้านเหรียญสหรัฐ (134,253.90 ล้านบาท) ขยายตัว 10.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และคิดเป็นสัดส่วน 9.7% ของการส่งออกสินค้าอาหารทั้งหมดของไทย โดยการส่งออกสินค้ากลุ่มอาหารเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและสารประกอบเชิงฟังก์ชัน มีสัดส่วนถึง 90.8% ของการส่งออกสินค้าอาหารอนาคตทั้งหมดของไทย สำหรับ<strong>ตลาดส่งออกสินค้าอาหารอนาคตที่สำคัญ 5 อันดับแรกของไทย</strong> ได้แก่ สหรัฐฯ (สัดส่วน 15.0%) จีน (10.7%) เวียดนาม (9.9%) กัมพูชา (7.5%) และเมียนมา (6.8%) ตามลำดับ <u>การนำเข้า</u> มีมูลค่า 1,811.21 ล้านเหรียญสหรัฐ (64,853.49 ล้านบาท) ขยายตัว 12.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า <strong>แหล่งนำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก</strong> ได้แก่ สิงคโปร์ (สัดส่วน 39.6%) จีน (10.9%) สหรัฐฯ (10.1%) อินโดนีเซีย (6.0%) และญี่ปุ่น (3.7%)&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; หากพิจารณาเป็นรายกลุ่มสินค้าย่อย 4 กลุ่ม พบว่า&nbsp;<strong>(1) กลุ่มอาหารเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและสารประกอบเชิงฟังก์ชัน</strong> <u>การส่งออก</u> มีมูลค่า 3,446.06 ล้านเหรียญสหรัฐ (121,930.96 ล้านบาท) ขยายตัว 12.0% โดยมีสินค้าส่งออกที่สำคัญในกลุ่มนี้ อาทิ ซอสและของปรุงแต่งสำหรับทำซอส น้ำดื่มผสมวิตามิน และน้ำผลไม้ เป็นต้น ตลาดส่งออกสำคัญ อาทิ สหรัฐฯ (สัดส่วน 15.9%) จีน (11.1%) และเวียดนาม (10.8%) <u>การนำเข้า</u> มีมูลค่า 1,740.06 ล้านเหรียญสหรัฐ (62,300.90 ล้านบาท) ขยายตัว 12.3% ส่วนใหญ่นำเข้าจากสิงคโปร์ สัดส่วน 40.4% ของการนำเข้าทั้งหมด</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong> (2) กลุ่มอาหารทางการแพทย์และอาหารเฉพาะบุคคล</strong> <u>การส่งออก</u> มีมูลค่า 164.22 ล้านเหรียญสหรัฐ (5,817.82 ล้านบาท) ขยายตัว 4.0% มากกว่าครึ่งเป็นการส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งมาเลเซีย (สัดส่วน 32.7%) สปป.ลาว (14.8%) เมียนมา (13.5%) และกัมพูชา (9.1%) <u>การนำเข้า</u> มีมูลค่า 45.56 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,636.68 ล้านบาท) ขยายตัว 11.1% แหล่งนำเข้าสำคัญ อาทิ สิงคโปร์ (สัดส่วน 32.4%) นิวซีแลนด์ (12.9%) และเยอรมนี (10.1%)&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>(3) โปรตีนทางเลือก</strong> <u>การส่งออก</u> มีมูลค่า 147.41 ล้านเหรียญสหรัฐ (5,202.36 ล้านบาท) หดตัว 8.0% ตลาดส่งออกสำคัญ อาทิ เมียนมา (สัดส่วน 23.0%) กัมพูชา (17.0%) จีน (13.1%) สปป.ลาว (10.9%) และฟิลิปปินส์ (7.1%) <u>การนำเข้า</u> มีมูลค่า 25.48 ล้านเหรียญสหรัฐ (911.72 ล้านบาท) ขยายตัว 1.8% เป็นการนำเข้าจากจีนประมาณครึ่งหนึ่งของการนำเข้าทั้งหมด</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>(4) ผลิตภัณฑ์อินทรีย์และอาหารไม่ปรุงแต่ง</strong> <u>การส่งออก</u> มีมูลค่า 36.71 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,302.75 ล้านบาท) หดตัว 29.9% เกือบครึ่งหนึ่งของการส่งออกเป็นการส่งออกไปยังสหรัฐฯ (สัดส่วน 45.8%) โดยมีข้าวเจ้าขาวหอมมะลิอินทรีย์ และกะทิสำเร็จรูป เป็นสินค้าสำคัญที่ส่งออกไปสหรัฐฯ <u>การนำเข้า</u> มีมูลค่า 118,646.04 เหรียญสหรัฐ (4.19 ล้านบาท) หดตัว 33.9% ส่วนใหญ่นำเข้าจากอินเดียและอินโดนีเซียเป็นหลัก สัดส่วน 59.3% และ 34.6% ตามลำดับ</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า อาหารอนาคตเป็นสินค้าดาวรุ่งที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นสินค้าพื้นฐานของไทย และเป็นการต่อยอดอุตสาหกรรมอาหารซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ไทยมีศักยภาพ ทั้งนี้ การให้บริการข้อมูลการค้าสินค้าอาหารอนาคต &ldquo;คิดค้า Briefing&rdquo; หัวข้อ &ldquo;ถอดรหัสอาหารแห่งอนาคต&rdquo; จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยกำหนดนโยบายเศรษฐกิจการค้าของประเทศ และเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ ใช้ประกอบการตัดสินใจวางแผนกลยุทธ์การค้า ตามนโยบาย นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่เน้นการทำงานเชิงรุก และสนับสนุนธุรกิจและสินค้าใหม่ ๆ รวมถึงเป็นการขานรับกับนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลกของรัฐบาล และการผลักดันให้ไทยเป็นคลังอาหารเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับความมั่นคงทางอาหารโลก</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค. ร่วมกับคณะกรรมการอาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย โดยมี ดร.วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา นายกสมาคมฯ เป็นแกนนำหลักของภาคเอกชน ร่วมกันพัฒนาและจัดทำบริการข้อมูลการค้าสินค้าอาหารแห่งอนาคต ในรูปแบบ “คิดค้า Briefing” ย่อยข้อมูลการค้าเชิงลึกรูปแบบการเล่าเรื่อง (Data Storytelling) หัวข้อ “ถอดรหัสอาหารแห่งอนาคต” นำเสนอข้อมูลการค้าสินอาหารอนาคตในภาพรวม และ 4 กลุ่มสินค้าย่อย ได้แก่ (1) อาหารเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและสารประกอบเชิงฟังก์ชัน (2) อาหารทางการแพทย์และอาหารเฉพาะบุคคล (3) โปรตีนทางเลือก และ (4) ผลิตภัณฑ์อินทรีย์และอาหารไม่ปรุงแต่ง เน้นให้ข้อมูลปริมาณและมูลค่าการค้า อัตราการเติบโต และตลาดสำคัญของสินค้าแต่ละกลุ่ม นำเสนอข้อมูลแบบเข้าใจง่ายและใช้งานสะดวก โดยเปิดตัวให้บริการแล้วบนเว็บไซต์ คิดค้า.com 

          ข้อมูลภาพรวมการค้าสินค้าอาหารแห่งอนาคตของไทยจากแดชบอร์ดอาหารแห่งอนาคต พบว่า 10 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม - ตุลาคม) การส่งออก มีมูลค่า 3,794.39 ล้านเหรียญสหรัฐ (134,253.90 ล้านบาท) ขยายตัว 10.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และคิดเป็นสัดส่วน 9.7% ของการส่งออกสินค้าอาหารทั้งหมดของไทย โดยการส่งออกสินค้ากลุ่มอาหารเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและสารประกอบเชิงฟังก์ชัน มีสัดส่วนถึง 90.8% ของการส่งออกสินค้าอาหารอนาคตทั้งหมดของไทย สำหรับตลาดส่งออกสินค้าอาหารอนาคตที่สำคัญ 5 อันดับแรกของไทย ได้แก่ สหรัฐฯ (สัดส่วน 15.0%) จีน (10.7%) เวียดนาม (9.9%) กัมพูชา (7.5%) และเมียนมา (6.8%) ตามลำดับ การนำเข้า มีมูลค่า 1,811.21 ล้านเหรียญสหรัฐ (64,853.49 ล้านบาท) ขยายตัว 12.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แหล่งนำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ สิงคโปร์ (สัดส่วน 39.6%) จีน (10.9%) สหรัฐฯ (10.1%) อินโดนีเซีย (6.0%) และญี่ปุ่น (3.7%) 

          หากพิจารณาเป็นรายกลุ่มสินค้าย่อย 4 กลุ่ม พบว่า (1) กลุ่มอาหารเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและสารประกอบเชิงฟังก์ชัน การส่งออก มีมูลค่า 3,446.06 ล้านเหรียญสหรัฐ (121,930.96 ล้านบาท) ขยายตัว 12.0% โดยมีสินค้าส่งออกที่สำคัญในกลุ่มนี้ อาทิ ซอสและของปรุงแต่งสำหรับทำซอส น้ำดื่มผสมวิตามิน และน้ำผลไม้ เป็นต้น ตลาดส่งออกสำคัญ อาทิ สหรัฐฯ (สัดส่วน 15.9%) จีน (11.1%) และเวียดนาม (10.8%) การนำเข้า มีมูลค่า 1,740.06 ล้านเหรียญสหรัฐ (62,300.90 ล้านบาท) ขยายตัว 12.3% ส่วนใหญ่นำเข้าจากสิงคโปร์ สัดส่วน 40.4% ของการนำเข้าทั้งหมด

          (2) กลุ่มอาหารทางการแพทย์และอาหารเฉพาะบุคคล การส่งออก มีมูลค่า 164.22 ล้านเหรียญสหรัฐ (5,817.82 ล้านบาท) ขยายตัว 4.0% มากกว่าครึ่งเป็นการส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งมาเลเซีย (สัดส่วน 32.7%) สปป.ลาว (14.8%) เมียนมา (13.5%) และกัมพูชา (9.1%) การนำเข้า มีมูลค่า 45.56 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,636.68 ล้านบาท) ขยายตัว 11.1% แหล่งนำเข้าสำคัญ อาทิ สิงคโปร์ (สัดส่วน 32.4%) นิวซีแลนด์ (12.9%) และเยอรมนี (10.1%) 

          (3) โปรตีนทางเลือก การส่งออก มีมูลค่า 147.41 ล้านเหรียญสหรัฐ (5,202.36 ล้านบาท) หดตัว 8.0% ตลาดส่งออกสำคัญ อาทิ เมียนมา (สัดส่วน 23.0%) กัมพูชา (17.0%) จีน (13.1%) สปป.ลาว (10.9%) และฟิลิปปินส์ (7.1%) การนำเข้า มีมูลค่า 25.48 ล้านเหรียญสหรัฐ (911.72 ล้านบาท) ขยายตัว 1.8% เป็นการนำเข้าจากจีนประมาณครึ่งหนึ่งของการนำเข้าทั้งหมด

          (4) ผลิตภัณฑ์อินทรีย์และอาหารไม่ปรุงแต่ง การส่งออก มีมูลค่า 36.71 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,302.75 ล้านบาท) หดตัว 29.9% เกือบครึ่งหนึ่งของการส่งออกเป็นการส่งออกไปยังสหรัฐฯ (สัดส่วน 45.8%) โดยมีข้าวเจ้าขาวหอมมะลิอินทรีย์ และกะทิสำเร็จรูป เป็นสินค้าสำคัญที่ส่งออกไปสหรัฐฯ การนำเข้า มีมูลค่า 118,646.04 เหรียญสหรัฐ (4.19 ล้านบาท) หดตัว 33.9% ส่วนใหญ่นำเข้าจากอินเดียและอินโดนีเซียเป็นหลัก สัดส่วน 59.3% และ 34.6% ตามลำดับ

          นายพูนพงษ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า อาหารอนาคตเป็นสินค้าดาวรุ่งที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นสินค้าพื้นฐานของไทย และเป็นการต่อยอดอุตสาหกรรมอาหารซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ไทยมีศักยภาพ ทั้งนี้ การให้บริการข้อมูลการค้าสินค้าอาหารอนาคต “คิดค้า Briefing” หัวข้อ “ถอดรหัสอาหารแห่งอนาคต” จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยกำหนดนโยบายเศรษฐกิจการค้าของประเทศ และเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ ใช้ประกอบการตัดสินใจวางแผนกลยุทธ์การค้า ตามนโยบาย นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่เน้นการทำงานเชิงรุก และสนับสนุนธุรกิจและสินค้าใหม่ ๆ รวมถึงเป็นการขานรับกับนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลกของรัฐบาล และการผลักดันให้ไทยเป็นคลังอาหารเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับความมั่นคงทางอาหารโลก

เผยแพร่เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2567