พาณิชย์เผยปรับค่าจ้างขั้นต่ำส่งผลต่อเงินเฟ้อไม่มาก

พาณิชย์เผยปรับค่าจ้างขั้นต่ำส่งผลต่อเงินเฟ้อไม่มาก

avatar

Administrator


175


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/พาณิชย์เผยปรับค่าจ้างขั้นต่ำส่งผลต่อเงินเฟ้อไม่มาก.pdf" target="_blank">พาณิชย์เผยปรับค่าจ้างขั้นต่ำส่งผลต่อเงินเฟ้อไม่มาก.pdf</a><br />
<strong>ความสัมพันธ์ของค่าจ้างขั้นต่ำและอัตราเงินเฟ้อระหว่างปี 2559 &ndash; 2568:</strong>&nbsp;<a href="https://uploads.tpso.go.th/ความสัมพันธ์ของค่าจ้างขั้นต่ำและอัตราเงินเฟ้อระหว่างปี 2559 – 2568.pdf" target="_blank">ความสัมพันธ์ของค่าจ้างขั้นต่ำและอัตราเงินเฟ้อระหว่างปี 2559 &ndash; 2568.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยผลการวิเคราะห์ &ldquo;ผลกระทบของการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไป&rdquo; หลังจากราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2568 ที่แบ่งเป็น 17 อัตราเพิ่มในอัตราวันละ 7 - 55 บาท (เฉลี่ยร้อยละ 2.9) โดยมีอัตราสูงสุด คือ วันละ 400 บาท และอัตราต่ำสุด คือ วันละ 337 บาท พบว่า จะส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 0.15 - 0.30 และทำให้อัตราเงินเฟ้อในปี 2568 จะยังอยู่ในช่วงร้อยละ 0.3 - 1.3 (ค่ากลางร้อยละ 0.8) ตามที่ สนค. ได้คาดการณ์เมื่อเดือนธันวาคม 2567<br />
&nbsp;&nbsp; &nbsp;<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;สนค. ได้ดำเนินการวิเคราะห์ผลกระทบโดยใช้ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และข้อมูลจำนวนผู้ใช้แรงงานที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งประมวลข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ และกระทรวงแรงงาน รวมทั้งความสอดคล้องกับโครงสร้างของหมวดสินค้าและบริการของดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มสินค้าและบริการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำได้ 6 กลุ่ม ดังนี้<br />
&nbsp;&nbsp; &nbsp;<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>กลุ่มที่ 1 สินค้าและบริการที่มีการกำกับดูแลโดยภาครัฐ</strong> คิดเป็นประมาณร้อยละ 22.0 ของน้ำหนักสินค้าและบริการในตะกร้าเงินเฟ้อ ได้แก่ ค่าน้ำประปา ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันดีเซล แก๊สโซฮอล์ ค่าการศึกษา ค่าทางด่วน ค่าเดินทางสาธารณะ และค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น โดยการปรับราคาสินค้าและบริการเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับมาตรการภาครัฐ ดังนั้น การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้จะไม่ส่งผลให้สินค้าและบริการในหมวดนี้ปรับตัวสูงขึ้น</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>กลุ่มที่ 2 สินค้าและบริการที่มีการผลิตในระบบอุตสาหกรรม และเป็นสินค้าที่มีการใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสม่ำเสมอ</strong> คิดเป็นร้อยละ 25.0 ของน้ำหนักสินค้าและบริการในตะกร้าเงินเฟ้อ ได้แก่ สินค้าในหมวดเครื่องประกอบอาหาร (น้ำตาล เกลือ น้ำมันพืช) เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ (น้ำดื่ม กาแฟ น้ำหวาน) ของใช้ส่วนบุคคล (ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม แปรงสีฟัน กระดาษชำระ) และสินค้าคงทนต่าง ๆ (เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ รถจักรยานยนต์) เนื่องจากกระบวนการผลิตของสินค้าส่วนใหญ่เป็นโรงงานอุตสาหกรรม มีการใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรในการผลิตเป็นส่วนใหญ่ มีการใช้แรงงานขั้นต่ำน้อย ทำให้อาจจะไม่มีการปรับเพิ่มราคาสินค้าและบริการในกลุ่มนี้ตามการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>กลุ่มที่ 3 สินค้าที่มีการใช้แรงงานสูงแต่การส่งผ่านราคาสู่ผู้บริโภคไม่มากนัก</strong> คิดเป็นประมาณร้อยละ 22.0 ของน้ำหนักสินค้าและบริการในตะกร้าเงินเฟ้อ ได้แก่ สินค้าในภาคการเกษตร ทั้งผักสด ผลไม้สด พืชไร่ และปศุสัตว์ เนื่องจากภาคการผลิตเหล่านี้มีการใช้แรงงานในสัดส่วนที่สูง แต่ไม่สามารถส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปยังราคาสินค้าได้ เนื่องจากราคาสินค้าถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทาน ดังนั้น การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้จะไม่ส่งผลให้สินค้าในหมวดนี้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาครัฐควรมีนโยบายดูแลภาคการผลิตเหล่านี้ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบให้รายได้สุทธิลดลง</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>กลุ่มที่ 4 สินค้าและบริการที่มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ</strong> คิดเป็นประมาณร้อยละ 16.0 ของน้ำหนักสินค้าและบริการในตะกร้าเงินเฟ้อ ได้แก่ อาหารสำเร็จรูป (บริโภคในบ้านและบริโภคนอกบ้าน) โดยเฉพาะอาหารจานด่วน อาหารตามสั่ง ข้าวราดแกง และกับข้าวเป็นถุง เนื่องจากมีต้นทุนการใช้แรงงานสูง ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มีความสามารถรองรับการเพิ่มขึ้นของต้นทุนได้ต่ำ อย่างไรก็ตาม ต้นทุนอื่น ๆ ของอาหารสำเร็จรูปในปี 2568 มีแนวโน้มลดลง ทั้งราคาผักสดที่ลดลงจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยในการเพาะปลูกมากขึ้น ไข่ไก่ที่ราคายังมีแนวโน้มลดลง เนื้อสุกรที่มีการปรับราคาสูงขึ้นไม่มาก รวมทั้งเครื่องประกอบอาหารมีแนวโน้มทรงตัว ดังนั้น การปรับเพิ่มขึ้นของค่าจ้างขั้นต่ำจะส่งผลกระทบต่ออาหารสำเร็จรูป ในปี 2568 ไม่สูงมากนัก<br />
&nbsp;&nbsp; &nbsp;<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>กลุ่มที่ 5 ค่าเช่าบ้านและที่พักอาศัย</strong> คิดเป็นประมาณร้อยละ 14.0 ของสินค้าและบริการในตะกร้าเงินเฟ้อ โดยการปรับขึ้นค่าเช่าบ้านและที่พักอาศัยขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านอุปสงค์และอุปทานมากกว่าการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ประกอบกับในปี 2568 ภาคอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มฟื้นตัวต่ำจะเป็นปัจจัยกดดันให้ค่าเช่าบ้านและที่พักอาศัยยังอยู่ในระดับต่ำ หรืออาจไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>กลุ่มที่ 6 ค่าบริการที่มีการใช้แรงงานมีฝีมือหรือทักษะสูง</strong> คิดเป็นประมาณร้อยละ 1.0 ของน้ำหนักสินค้าและบริการในตะกร้าเงินเฟ้อ ได้แก่ ค่าตัดผม ค่าแรงช่างไฟฟ้า ค่าแรงช่างประปา ค่าแรงช่างก่อสร้าง ค่าบริการล้างแอร์ ค่าดูแลผู้สูงอายุ ค่าคนรับใช้/ คนทำงานบ้าน และค่าจ้างเฝ้าไข้ผู้ป่วย เป็นต้น ในภาพรวมค่าแรงหรือค่าจ้างในภาคบริการเหล่านี้สูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำอยู่แล้ว ดังนั้น การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะส่งผลให้ค่าบริการเหล่านี้ปรับเพิ่มไม่มาก หรืออาจจะไม่มีการปรับขึ้นค่าบริการ</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผอ. สนค. กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดกลุ่มสินค้าและบริการออกเป็น 6 กลุ่มตามผลกระทบของการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ จะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถติดตามสถานการณ์ของแต่ละกลุ่มได้อย่างใกล้ชิด และมีการดำเนินนโยบายในการดูแลการเปลี่ยนแปลงราคาได้อย่างมีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานที่ให้ความเป็นธรรมทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค นอกจากนี้ คาดว่าการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้ จะมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อค่อนข้างน้อย เนื่องจากปัจจัยด้านมาตรการช่วยเหลือลดค่าครองชีพของภาครัฐ รวมทั้งอุปสงค์ในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ และลดภาระหนี้สินครัวเรือน ทำให้การจับจ่ายของประชาชนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้รายได้และกำไรสุทธิของผู้ประกอบการ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการ</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 
ความสัมพันธ์ของค่าจ้างขั้นต่ำและอัตราเงินเฟ้อระหว่างปี 2559 – 2568: 

         นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยผลการวิเคราะห์ “ผลกระทบของการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไป” หลังจากราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2568 ที่แบ่งเป็น 17 อัตราเพิ่มในอัตราวันละ 7 - 55 บาท (เฉลี่ยร้อยละ 2.9) โดยมีอัตราสูงสุด คือ วันละ 400 บาท และอัตราต่ำสุด คือ วันละ 337 บาท พบว่า จะส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 0.15 - 0.30 และทำให้อัตราเงินเฟ้อในปี 2568 จะยังอยู่ในช่วงร้อยละ 0.3 - 1.3 (ค่ากลางร้อยละ 0.8) ตามที่ สนค. ได้คาดการณ์เมื่อเดือนธันวาคม 2567
    
         สนค. ได้ดำเนินการวิเคราะห์ผลกระทบโดยใช้ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และข้อมูลจำนวนผู้ใช้แรงงานที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งประมวลข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ และกระทรวงแรงงาน รวมทั้งความสอดคล้องกับโครงสร้างของหมวดสินค้าและบริการของดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มสินค้าและบริการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำได้ 6 กลุ่ม ดังนี้
    
         กลุ่มที่ 1 สินค้าและบริการที่มีการกำกับดูแลโดยภาครัฐ คิดเป็นประมาณร้อยละ 22.0 ของน้ำหนักสินค้าและบริการในตะกร้าเงินเฟ้อ ได้แก่ ค่าน้ำประปา ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันดีเซล แก๊สโซฮอล์ ค่าการศึกษา ค่าทางด่วน ค่าเดินทางสาธารณะ และค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น โดยการปรับราคาสินค้าและบริการเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับมาตรการภาครัฐ ดังนั้น การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้จะไม่ส่งผลให้สินค้าและบริการในหมวดนี้ปรับตัวสูงขึ้น

         กลุ่มที่ 2 สินค้าและบริการที่มีการผลิตในระบบอุตสาหกรรม และเป็นสินค้าที่มีการใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสม่ำเสมอ คิดเป็นร้อยละ 25.0 ของน้ำหนักสินค้าและบริการในตะกร้าเงินเฟ้อ ได้แก่ สินค้าในหมวดเครื่องประกอบอาหาร (น้ำตาล เกลือ น้ำมันพืช) เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ (น้ำดื่ม กาแฟ น้ำหวาน) ของใช้ส่วนบุคคล (ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม แปรงสีฟัน กระดาษชำระ) และสินค้าคงทนต่าง ๆ (เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ รถจักรยานยนต์) เนื่องจากกระบวนการผลิตของสินค้าส่วนใหญ่เป็นโรงงานอุตสาหกรรม มีการใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรในการผลิตเป็นส่วนใหญ่ มีการใช้แรงงานขั้นต่ำน้อย ทำให้อาจจะไม่มีการปรับเพิ่มราคาสินค้าและบริการในกลุ่มนี้ตามการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ

         กลุ่มที่ 3 สินค้าที่มีการใช้แรงงานสูงแต่การส่งผ่านราคาสู่ผู้บริโภคไม่มากนัก คิดเป็นประมาณร้อยละ 22.0 ของน้ำหนักสินค้าและบริการในตะกร้าเงินเฟ้อ ได้แก่ สินค้าในภาคการเกษตร ทั้งผักสด ผลไม้สด พืชไร่ และปศุสัตว์ เนื่องจากภาคการผลิตเหล่านี้มีการใช้แรงงานในสัดส่วนที่สูง แต่ไม่สามารถส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปยังราคาสินค้าได้ เนื่องจากราคาสินค้าถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทาน ดังนั้น การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้จะไม่ส่งผลให้สินค้าในหมวดนี้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาครัฐควรมีนโยบายดูแลภาคการผลิตเหล่านี้ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบให้รายได้สุทธิลดลง

         กลุ่มที่ 4 สินค้าและบริการที่มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ คิดเป็นประมาณร้อยละ 16.0 ของน้ำหนักสินค้าและบริการในตะกร้าเงินเฟ้อ ได้แก่ อาหารสำเร็จรูป (บริโภคในบ้านและบริโภคนอกบ้าน) โดยเฉพาะอาหารจานด่วน อาหารตามสั่ง ข้าวราดแกง และกับข้าวเป็นถุง เนื่องจากมีต้นทุนการใช้แรงงานสูง ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มีความสามารถรองรับการเพิ่มขึ้นของต้นทุนได้ต่ำ อย่างไรก็ตาม ต้นทุนอื่น ๆ ของอาหารสำเร็จรูปในปี 2568 มีแนวโน้มลดลง ทั้งราคาผักสดที่ลดลงจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยในการเพาะปลูกมากขึ้น ไข่ไก่ที่ราคายังมีแนวโน้มลดลง เนื้อสุกรที่มีการปรับราคาสูงขึ้นไม่มาก รวมทั้งเครื่องประกอบอาหารมีแนวโน้มทรงตัว ดังนั้น การปรับเพิ่มขึ้นของค่าจ้างขั้นต่ำจะส่งผลกระทบต่ออาหารสำเร็จรูป ในปี 2568 ไม่สูงมากนัก
    
         กลุ่มที่ 5 ค่าเช่าบ้านและที่พักอาศัย คิดเป็นประมาณร้อยละ 14.0 ของสินค้าและบริการในตะกร้าเงินเฟ้อ โดยการปรับขึ้นค่าเช่าบ้านและที่พักอาศัยขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านอุปสงค์และอุปทานมากกว่าการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ประกอบกับในปี 2568 ภาคอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มฟื้นตัวต่ำจะเป็นปัจจัยกดดันให้ค่าเช่าบ้านและที่พักอาศัยยังอยู่ในระดับต่ำ หรืออาจไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ

         กลุ่มที่ 6 ค่าบริการที่มีการใช้แรงงานมีฝีมือหรือทักษะสูง คิดเป็นประมาณร้อยละ 1.0 ของน้ำหนักสินค้าและบริการในตะกร้าเงินเฟ้อ ได้แก่ ค่าตัดผม ค่าแรงช่างไฟฟ้า ค่าแรงช่างประปา ค่าแรงช่างก่อสร้าง ค่าบริการล้างแอร์ ค่าดูแลผู้สูงอายุ ค่าคนรับใช้/ คนทำงานบ้าน และค่าจ้างเฝ้าไข้ผู้ป่วย เป็นต้น ในภาพรวมค่าแรงหรือค่าจ้างในภาคบริการเหล่านี้สูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำอยู่แล้ว ดังนั้น การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะส่งผลให้ค่าบริการเหล่านี้ปรับเพิ่มไม่มาก หรืออาจจะไม่มีการปรับขึ้นค่าบริการ

         ผอ. สนค. กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดกลุ่มสินค้าและบริการออกเป็น 6 กลุ่มตามผลกระทบของการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ จะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถติดตามสถานการณ์ของแต่ละกลุ่มได้อย่างใกล้ชิด และมีการดำเนินนโยบายในการดูแลการเปลี่ยนแปลงราคาได้อย่างมีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานที่ให้ความเป็นธรรมทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค นอกจากนี้ คาดว่าการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้ จะมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อค่อนข้างน้อย เนื่องจากปัจจัยด้านมาตรการช่วยเหลือลดค่าครองชีพของภาครัฐ รวมทั้งอุปสงค์ในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ และลดภาระหนี้สินครัวเรือน ทำให้การจับจ่ายของประชาชนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้รายได้และกำไรสุทธิของผู้ประกอบการ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการ

เผยแพร่เมื่อวันที่ 08 มกราคม 2568