ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัว 8 เดือนต่อเนื่อง มกราคม 68 สูงขึ้นร้อยละ 0.3 จากการเร่งดำเนินการโครงการก่อสร้างของภาครัฐ

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัว 8 เดือนต่อเนื่อง มกราคม 68 สูงขึ้นร้อยละ 0.3 จากการเร่งดำเนินการโครงการก่อสร้างของภาครัฐ

avatar

Administrator


626


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัว 8 เดือนต่อเนื่อง.pdf" target="_blank">ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัว 8 เดือนต่อเนื่อง.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมกราคม 2568 เท่ากับ 112.3 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2567 (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 0.3</strong> จากการเร่งดำเนินโครงการก่อสร้างของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการด้านคมนาคมที่ดำเนินการในหลายพื้นที่ รวมทั้งค่าขนส่งที่ปรับสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดีเซลที่สูงกว่าปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ดัชนีราคาส่วนใหญ่ปรับสูงขึ้น ประกอบด้วย <strong>หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 1.0</strong> จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ ไม้แบบ ไม้พื้น และบานประตู <strong>หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.2</strong> จากสินค้าสำคัญ เช่น เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก และคอนกรีตผสมเสร็จ <strong>หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 2.7</strong> จากการสูงขึ้นของราคาสายเคเบิล THW สายส่งกำลังไฟฟ้า NYY และสายไฟฟ้า VCT ที่มีการปรับราคาสูงขึ้นตามราคาทองแดงซึ่งเป็นวัตถุดิบหลัก <strong>หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 0.8</strong> จากการสูงขึ้นของราคาสีทาถนนชนิดสะท้อนแสง และ<strong>หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 7.3</strong> จากการสูงขึ้นของราคายางมะตอย เนื่องจากความต้องการใช้เพิ่มขึ้นเพื่อก่อสร้างและซ่อมแซมถนนในหลายพื้นที่ <strong>สำหรับหมวดสินค้าสำคัญที่ดัชนีราคาลดลง</strong> ได้แก่ <strong>หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 3.2</strong> จากการลดลงของราคาเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เช่น เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ เหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย เหล็กฉาก เหล็กรางน้ำ เป็นต้น ที่ยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีนเป็นสาเหตุทำให้มีปริมาณเหล็กในตลาดจำนวนมากกดดันให้ราคาเหล็กในเอเชียและในประเทศลดลงอย่างต่อเนื่อง <strong>หมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 1.6</strong> จากการลดลงของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม และปูนฉาบสำเร็จรูป เนื่องจากต้นทุนการผลิตลดลงจากราคาถ่านหินปรับลดลงโดยมีสาเหตุจากการเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดทดแทนมากขึ้น ทำให้ความต้องการใช้ถ่านหินลดลง ประกอบกับมีการแข่งขันในธุรกิจซีเมนต์สูงมาก นอกจากนี้ ผลกระทบจากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังสูงและหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น ทำให้สถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ ส่งผลให้การลงทุนโครงการใหม่ ๆ ชะลอตัว จึงเป็นปัจจัยกดดันให้ดัชนีราคา<strong>หมวดกระเบื้อง ลดลงร้อยละ 1.3</strong> จากสินค้าสำคัญ เช่น กระเบื้องเคลือบบุผนัง กระเบื้องเคลือบปูพื้น เป็นต้น รวมทั้ง<strong>หมวดสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 0.9</strong> จากสินค้าสำคัญ เช่น กระจกเงา ฝักบัวอาบน้ำ และราวจับแสตนเลส ที่มีความต้องการใช้ลดลงตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่าดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างปี 2567 เฉลี่ยทั้งปีหดตัวลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.2 เนื่องจากสถานการณ์การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวต่อเนื่องจากหลายปัจจัย เช่น อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง ภาวะหนี้ครัวเรือนสูง รวมทั้งหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น ทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ ส่งผลกระทบต่อการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ ทำให้การลงทุนโครงการใหม่ ๆ ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปี 2568 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างจะมีทิศทางที่ขยายตัวจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผน ทำให้การก่อสร้างที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อาทิ โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการรถไฟฟ้า โครงการทางด่วนพิเศษ โครงการขยายสนามบิน เป็นต้น รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่ลดลงกว่าปีที่แล้ว ทำให้สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ในประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัว จะเป็นปัจจัยส่งผลให้ความต้องการใช้สินค้าวัสดุก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมกราคม 2568 เท่ากับ 112.3 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2567 (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 0.3 จากการเร่งดำเนินโครงการก่อสร้างของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการด้านคมนาคมที่ดำเนินการในหลายพื้นที่ รวมทั้งค่าขนส่งที่ปรับสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดีเซลที่สูงกว่าปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ดัชนีราคาส่วนใหญ่ปรับสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 1.0 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ ไม้แบบ ไม้พื้น และบานประตู หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.2 จากสินค้าสำคัญ เช่น เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก และคอนกรีตผสมเสร็จ หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 2.7 จากการสูงขึ้นของราคาสายเคเบิล THW สายส่งกำลังไฟฟ้า NYY และสายไฟฟ้า VCT ที่มีการปรับราคาสูงขึ้นตามราคาทองแดงซึ่งเป็นวัตถุดิบหลัก หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 0.8 จากการสูงขึ้นของราคาสีทาถนนชนิดสะท้อนแสง และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 7.3 จากการสูงขึ้นของราคายางมะตอย เนื่องจากความต้องการใช้เพิ่มขึ้นเพื่อก่อสร้างและซ่อมแซมถนนในหลายพื้นที่ สำหรับหมวดสินค้าสำคัญที่ดัชนีราคาลดลง ได้แก่ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 3.2 จากการลดลงของราคาเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เช่น เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ เหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย เหล็กฉาก เหล็กรางน้ำ เป็นต้น ที่ยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีนเป็นสาเหตุทำให้มีปริมาณเหล็กในตลาดจำนวนมากกดดันให้ราคาเหล็กในเอเชียและในประเทศลดลงอย่างต่อเนื่อง หมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 1.6 จากการลดลงของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม และปูนฉาบสำเร็จรูป เนื่องจากต้นทุนการผลิตลดลงจากราคาถ่านหินปรับลดลงโดยมีสาเหตุจากการเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดทดแทนมากขึ้น ทำให้ความต้องการใช้ถ่านหินลดลง ประกอบกับมีการแข่งขันในธุรกิจซีเมนต์สูงมาก นอกจากนี้ ผลกระทบจากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังสูงและหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น ทำให้สถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ ส่งผลให้การลงทุนโครงการใหม่ ๆ ชะลอตัว จึงเป็นปัจจัยกดดันให้ดัชนีราคาหมวดกระเบื้อง ลดลงร้อยละ 1.3 จากสินค้าสำคัญ เช่น กระเบื้องเคลือบบุผนัง กระเบื้องเคลือบปูพื้น เป็นต้น รวมทั้งหมวดสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 0.9 จากสินค้าสำคัญ เช่น กระจกเงา ฝักบัวอาบน้ำ และราวจับแสตนเลส ที่มีความต้องการใช้ลดลงตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์

          นายพูนพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่าดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างปี 2567 เฉลี่ยทั้งปีหดตัวลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.2 เนื่องจากสถานการณ์การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวต่อเนื่องจากหลายปัจจัย เช่น อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง ภาวะหนี้ครัวเรือนสูง รวมทั้งหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น ทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ ส่งผลกระทบต่อการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ ทำให้การลงทุนโครงการใหม่ ๆ ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปี 2568 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างจะมีทิศทางที่ขยายตัวจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผน ทำให้การก่อสร้างที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อาทิ โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการรถไฟฟ้า โครงการทางด่วนพิเศษ โครงการขยายสนามบิน เป็นต้น รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่ลดลงกว่าปีที่แล้ว ทำให้สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ในประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัว จะเป็นปัจจัยส่งผลให้ความต้องการใช้สินค้าวัสดุก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น

เผยแพร่เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568