“มะม่วงไทย” ดาวรุ่งผลไม้ส่งออก เกาหลีใต้ก้าวขึ้นอันดับที่ 1 ตลาดส่งออกของไทย

“มะม่วงไทย” ดาวรุ่งผลไม้ส่งออก เกาหลีใต้ก้าวขึ้นอันดับที่ 1 ตลาดส่งออกของไทย

avatar

Administrator


599


หมวดหมู่:

<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/“มะม่วงไทย” ดาวรุ่งผลไม้ส่งออก เกาหลีใต้ก้าวขึ้นอันดับที่ 1 ตลาดส่งออกของไทย.pdf" target="_blank">&ldquo;มะม่วงไทย&rdquo; ดาวรุ่งผลไม้ส่งออก เกาหลีใต้ก้าวขึ้นอันดับที่ 1 ตลาดส่งออกของไทย.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อํานวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่ามะม่วงเป็นหนึ่งในผลไม้ส่งออกสำคัญของไทย รองจากทุเรียน ลำไย และมังคุด ไทยเป็นผู้ส่งออกมะม่วงชั้นนำของโลก ด้วยจุดเด่นด้านรสชาติและสายพันธุ์หลากหลาย ทำให้มะม่วงไทยได้รับความนิยมในตลาดต่างประเทศ</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; เกาหลีใต้ก้าวขึ้นอันดับที่ 1 ตลาดส่งออกมะม่วงสดของไทย จากอันดับที่ 2 รองจากมาเลเซียในปีก่อนหน้า โดยในปี 2567 ไทยส่งออกมะม่วงสดไปเกาหลีใต้ด้วยมูลค่า 2,931 ล้านบาท ขยายตัว 132.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ปัจจัยสำคัญมาจากมาตรการของรัฐบาลเกาหลีใต้ ที่ขยายปริมาณโควตานำเข้าผลไม้เขตร้อน และลดภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรชั่วคราว เพื่อลดค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคและลดปัญหาขาดแคลนสินค้าในประเทศ โดยปรับอัตราภาษีมะม่วงและมังคุดเหลือ 0% จากเดิม 30% และทุเรียนเหลือ 5% จากเดิม 45%<sup>1</sup> ทำให้มะม่วงไทยได้เปรียบด้านราคาและขยายตลาดได้มากขึ้น สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคเกาหลีใต้ที่นิยมรับประทานผลไม้สดหลังอาหารหรือเป็นอาหารว่าง และกระแสข้าวเหนียวมะม่วงในเกาหลีใต้ที่ได้รับความนิยมจากสื่อโซเชียลมีเดียและการส่งเสริมวัฒนธรรมอาหารไทยให้เป็นที่รู้จักในต่างประเทศ&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; เห็นได้ว่าเกาหลีใต้มีแนวโน้มนำเข้าผลไม้จากไทยเพิ่มขึ้น เช่น มะม่วง อาโวคาโด และกล้วย สำหรับตลาดอื่น ๆ เช่น มาเลเซีย ยังคงเป็นตลาดสำคัญสำหรับมะม่วงสดจากไทย เนื่องจากความนิยมบริโภคผลไม้สดและนำไปทำเครื่องดื่มปั่น Mango Shake ขณะที่ญี่ปุ่นต้องการมะม่วงสดเพิ่มขึ้นตามกระแสรักสุขภาพ และการนำมะม่วงไปใช้ในอุตสาหกรรมขนมหวาน เป็นต้น&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผอ.สนค. กล่าวเพิ่มเติมว่า &ldquo;มะม่วงไทยมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่สามารถทดแทนด้วยมะม่วงจากแหล่งอื่น การเติบโตของการส่งออกผลไม้สดของไทยเป็นผลจากการที่กระทรวงพาณิชย์ดำเนินมาตรการบริหารจัดการผลไม้มาอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยเตรียมความพร้อมตั้งแต่ก่อนผลผลิตออกสู่ตลาด มีการส่งเสริมผ่านหลายโครงการสำคัญทั้งในและต่างประเทศ อาทิ จำหน่ายผลไม้ไปประเทศเพื่อนบ้านผ่านงานมหกรรมการค้าชายแดน นโยบายผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ โดยส่งเสริมเมนูผลไม้ไทยตามฤดูกาลผ่านร้านอาหารไทย &nbsp; ซีเล็คท์ (Thai Select) ทั่วโลก การร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ โครงการจับคู่ธุรกิจสินค้าผลไม้เพื่อขยายตลาดส่งออก รวมถึงการลดภาระค่าขนส่งของผู้ประกอบการ และกระจายสินค้าให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น&rdquo;&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; แม้ว่าปัจจุบันเกาหลีใต้จะอนุญาตนำเข้าผลไม้จากไทยได้เพียง 6 ชนิด คือ มะม่วง มังคุด ทุเรียน กล้วย มะพร้าว และสับปะรด แต่ชาวเกาหลีใต้มีการรับรู้เกี่ยวกับรสชาติและคุณภาพของผลไม้ไทยเป็นอย่างดีผ่านสื่อโซเชียลและนักท่องเที่ยวที่เคยเดินทางมาไทย โดยเฉพาะมะม่วง มังคุด และทุเรียน ผลไม้ไทยได้รับการยอมรับจากชาวเกาหลีใต้ว่าเป็นสินค้าพรีเมียมคุณภาพสูง<sup>2</sup>&nbsp;หากไทยสามารถรักษามาตรฐานคุณภาพ และความสดใหม่ของผลิตภัณฑ์ได้ต่อเนื่อง ก็จะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นและเพิ่มโอกาสในการขยายตลาดได้มากขึ้น นอกจากนี้ ไทยอยู่ระหว่างการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (Economic Partnership Agreement) กับเกาหลีใต้ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการส่งออกมะม่วงและผลไม้ของไทยให้เติบโตได้เป็นอย่างดี&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ปัจจุบัน มะม่วงไทยได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication) หรือ GI แล้ว 12 ชนิด ได้แก่ มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองพิษณุโลก มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองบางคล้า มะม่วงน้ำดอกไม้คุ้งบางกระเจ้า มะม่วงน้ำดอกไม้สระแก้ว มะม่วงเบาสงขลา มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองบ้านโหล๋น มะม่วงยายกล่ำนนทบุรี มะม่วงน้ำดอกไม้สมุทรปราการ มะม่วงมันหนองแซงสระบุรี มะม่วงเขียวเสวยแปดริ้ว มะม่วงขายตึกแปดริ้ว และมะม่วงแรดแปดริ้ว<sup>3</sup>&nbsp;หากไทยส่งเสริมและประชาสัมพันธ์มะม่วง GI ของไทยให้เป็นที่รู้จัก ผ่านเมนูอาหารและการท่องเที่ยวที่ไทยมีศักยภาพอยู่แล้ว ก็จะเพิ่มโอกาสในการขยายตลาด เนื่องจากเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในด้านคุณภาพ อีกทั้งสร้างจุดเด่นที่แตกต่างของสินค้า และยังช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโต</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สำหรับในปี 2567 การส่งออกผลไม้สดของไทย<sup>4</sup>&nbsp;มีมูลค่า 183,823 ล้านบาท โดยไทยส่งออกมะม่วงสด (พิกัด 08045021) เป็นมูลค่า 4,716 ล้านบาท ขยายตัว 45.68% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ตลาดส่งออก 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) เกาหลีใต้ 2,931 ล้านบาท (สัดส่วน 62.2% ของมูลค่าการส่งออกมะม่วงสดของไทย ขยายตัว 132.7% จากปีก่อนหน้า) (2) มาเลเซีย 1,191 ล้านบาท (สัดส่วน 25.3% หดตัว 12.8%) (3) ญี่ปุ่น 139 ล้านบาท (สัดส่วน 3.0% ขยายตัว 32.8%) (4) เวียดนาม 131 ล้านบาท (สัดส่วน 2.8% หดตัว 15.7%) และ (5) สปป.ลาว 38 ล้านบาท (สัดส่วน 0.8% ขยายตัว 29.3%) ตามลำดับ</p>

<hr />
<p><sup>1 </sup>ข้อมูลจาก สำนักงานผู้แทนการค้า ณ เมืองปูซาน สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโซล<br />
<sup>2</sup> ข้อมูลจาก สำนักงานผู้แทนการค้า ณ เมืองปูซาน สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโซล<br />
<sup>3</sup> ข้อมูลจาก กรมทรัพย์สินทางปัญญา อัพเดทข้อมูลเมื่อ 25 ธันวาคม 2567<br />
<sup>4</sup> ข้อมูลจาก ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อํานวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่ามะม่วงเป็นหนึ่งในผลไม้ส่งออกสำคัญของไทย รองจากทุเรียน ลำไย และมังคุด ไทยเป็นผู้ส่งออกมะม่วงชั้นนำของโลก ด้วยจุดเด่นด้านรสชาติและสายพันธุ์หลากหลาย ทำให้มะม่วงไทยได้รับความนิยมในตลาดต่างประเทศ

          เกาหลีใต้ก้าวขึ้นอันดับที่ 1 ตลาดส่งออกมะม่วงสดของไทย จากอันดับที่ 2 รองจากมาเลเซียในปีก่อนหน้า โดยในปี 2567 ไทยส่งออกมะม่วงสดไปเกาหลีใต้ด้วยมูลค่า 2,931 ล้านบาท ขยายตัว 132.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ปัจจัยสำคัญมาจากมาตรการของรัฐบาลเกาหลีใต้ ที่ขยายปริมาณโควตานำเข้าผลไม้เขตร้อน และลดภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรชั่วคราว เพื่อลดค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคและลดปัญหาขาดแคลนสินค้าในประเทศ โดยปรับอัตราภาษีมะม่วงและมังคุดเหลือ 0% จากเดิม 30% และทุเรียนเหลือ 5% จากเดิม 45%1 ทำให้มะม่วงไทยได้เปรียบด้านราคาและขยายตลาดได้มากขึ้น สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคเกาหลีใต้ที่นิยมรับประทานผลไม้สดหลังอาหารหรือเป็นอาหารว่าง และกระแสข้าวเหนียวมะม่วงในเกาหลีใต้ที่ได้รับความนิยมจากสื่อโซเชียลมีเดียและการส่งเสริมวัฒนธรรมอาหารไทยให้เป็นที่รู้จักในต่างประเทศ 

          เห็นได้ว่าเกาหลีใต้มีแนวโน้มนำเข้าผลไม้จากไทยเพิ่มขึ้น เช่น มะม่วง อาโวคาโด และกล้วย สำหรับตลาดอื่น ๆ เช่น มาเลเซีย ยังคงเป็นตลาดสำคัญสำหรับมะม่วงสดจากไทย เนื่องจากความนิยมบริโภคผลไม้สดและนำไปทำเครื่องดื่มปั่น Mango Shake ขณะที่ญี่ปุ่นต้องการมะม่วงสดเพิ่มขึ้นตามกระแสรักสุขภาพ และการนำมะม่วงไปใช้ในอุตสาหกรรมขนมหวาน เป็นต้น 

          ผอ.สนค. กล่าวเพิ่มเติมว่า “มะม่วงไทยมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่สามารถทดแทนด้วยมะม่วงจากแหล่งอื่น การเติบโตของการส่งออกผลไม้สดของไทยเป็นผลจากการที่กระทรวงพาณิชย์ดำเนินมาตรการบริหารจัดการผลไม้มาอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยเตรียมความพร้อมตั้งแต่ก่อนผลผลิตออกสู่ตลาด มีการส่งเสริมผ่านหลายโครงการสำคัญทั้งในและต่างประเทศ อาทิ จำหน่ายผลไม้ไปประเทศเพื่อนบ้านผ่านงานมหกรรมการค้าชายแดน นโยบายผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ โดยส่งเสริมเมนูผลไม้ไทยตามฤดูกาลผ่านร้านอาหารไทย   ซีเล็คท์ (Thai Select) ทั่วโลก การร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ โครงการจับคู่ธุรกิจสินค้าผลไม้เพื่อขยายตลาดส่งออก รวมถึงการลดภาระค่าขนส่งของผู้ประกอบการ และกระจายสินค้าให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น” 

          แม้ว่าปัจจุบันเกาหลีใต้จะอนุญาตนำเข้าผลไม้จากไทยได้เพียง 6 ชนิด คือ มะม่วง มังคุด ทุเรียน กล้วย มะพร้าว และสับปะรด แต่ชาวเกาหลีใต้มีการรับรู้เกี่ยวกับรสชาติและคุณภาพของผลไม้ไทยเป็นอย่างดีผ่านสื่อโซเชียลและนักท่องเที่ยวที่เคยเดินทางมาไทย โดยเฉพาะมะม่วง มังคุด และทุเรียน ผลไม้ไทยได้รับการยอมรับจากชาวเกาหลีใต้ว่าเป็นสินค้าพรีเมียมคุณภาพสูง2 หากไทยสามารถรักษามาตรฐานคุณภาพ และความสดใหม่ของผลิตภัณฑ์ได้ต่อเนื่อง ก็จะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นและเพิ่มโอกาสในการขยายตลาดได้มากขึ้น นอกจากนี้ ไทยอยู่ระหว่างการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (Economic Partnership Agreement) กับเกาหลีใต้ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการส่งออกมะม่วงและผลไม้ของไทยให้เติบโตได้เป็นอย่างดี 

          ปัจจุบัน มะม่วงไทยได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication) หรือ GI แล้ว 12 ชนิด ได้แก่ มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองพิษณุโลก มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองบางคล้า มะม่วงน้ำดอกไม้คุ้งบางกระเจ้า มะม่วงน้ำดอกไม้สระแก้ว มะม่วงเบาสงขลา มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองบ้านโหล๋น มะม่วงยายกล่ำนนทบุรี มะม่วงน้ำดอกไม้สมุทรปราการ มะม่วงมันหนองแซงสระบุรี มะม่วงเขียวเสวยแปดริ้ว มะม่วงขายตึกแปดริ้ว และมะม่วงแรดแปดริ้ว3 หากไทยส่งเสริมและประชาสัมพันธ์มะม่วง GI ของไทยให้เป็นที่รู้จัก ผ่านเมนูอาหารและการท่องเที่ยวที่ไทยมีศักยภาพอยู่แล้ว ก็จะเพิ่มโอกาสในการขยายตลาด เนื่องจากเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในด้านคุณภาพ อีกทั้งสร้างจุดเด่นที่แตกต่างของสินค้า และยังช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโต

          สำหรับในปี 2567 การส่งออกผลไม้สดของไทย4 มีมูลค่า 183,823 ล้านบาท โดยไทยส่งออกมะม่วงสด (พิกัด 08045021) เป็นมูลค่า 4,716 ล้านบาท ขยายตัว 45.68% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ตลาดส่งออก 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) เกาหลีใต้ 2,931 ล้านบาท (สัดส่วน 62.2% ของมูลค่าการส่งออกมะม่วงสดของไทย ขยายตัว 132.7% จากปีก่อนหน้า) (2) มาเลเซีย 1,191 ล้านบาท (สัดส่วน 25.3% หดตัว 12.8%) (3) ญี่ปุ่น 139 ล้านบาท (สัดส่วน 3.0% ขยายตัว 32.8%) (4) เวียดนาม 131 ล้านบาท (สัดส่วน 2.8% หดตัว 15.7%) และ (5) สปป.ลาว 38 ล้านบาท (สัดส่วน 0.8% ขยายตัว 29.3%) ตามลำดับ


1 ข้อมูลจาก สำนักงานผู้แทนการค้า ณ เมืองปูซาน สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโซล
2 ข้อมูลจาก สำนักงานผู้แทนการค้า ณ เมืองปูซาน สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโซล
3 ข้อมูลจาก กรมทรัพย์สินทางปัญญา อัพเดทข้อมูลเมื่อ 25 ธันวาคม 2567
4 ข้อมูลจาก ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

เผยแพร่เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568