ดัชนีราคาผู้ผลิตของไทย เดือนกุมภาพันธ์ 2568 ค่อนข้างทรงตัว แม้เผชิญกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก

ดัชนีราคาผู้ผลิตของไทย เดือนกุมภาพันธ์ 2568 ค่อนข้างทรงตัว แม้เผชิญกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก

avatar

Administrator


713


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/ดัชนีราคาผู้ผลิตของไทย เดือนกุมภาพันธ์ 2568 ค่อนข้างทรงตัว.pdf" target="_blank">ดัชนีราคาผู้ผลิตของไทย เดือนกุมภาพันธ์ 2568 ค่อนข้างทรงตัว.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เผยว่า <strong>ภาพรวมดัชนีราคาผู้ผลิตของไทย เดือนกุมภาพันธ์ 2568 </strong>เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2567 <strong>หดตัวเล็กน้อยจากราคาสินค้า หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม</strong> ที่มีทิศทางเคลื่อนไหวตามราคาตลาดโลกจากอุปสงค์ของตลาดปลายทาง และผลกระทบจากมาตรการทางการค้าโลก <strong>และราคาสินค้าหมวดผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร</strong> ที่ปัจจุบันเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดโลก โดยเฉพาะประเทศผู้ส่งออกในภูมิภาค ส่งผลให้ภาพรวมของราคาผู้ผลิต ยังคงมีความผันผวนในระดับที่ทรงตัว โดยมีรายละเอียด ดังนี้&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนกุมภาพันธ์ 2568 เท่ากับ 111.3 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ลดลงร้อยละ 0.3 (YoY) เป็นผลจากการลดลงของราคาสินค้า หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง ลดลงร้อยละ 0.3</strong> <strong>จากสินค้าสำคัญ</strong> ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า จากฐานราคาของปีก่อนที่สูง ประกอบกับประเทศผู้ส่งออกรายสำคัญยกเลิกมาตรการระงับการส่งออก ทำให้ผลผลิตในตลาดโลกมีปริมาณสูงขึ้น อ้อย จากฐานราคาของปีก่อนที่สูง ประกอบกับปริมาณผลผลิตในปีนี้ที่มากกว่าปีก่อน หัวมันสำปะหลังสด จากตลาดปลายทางสำคัญลดปริมาณการนำเข้าผลผลิตจากไทยพืชผัก (มะนาว พริกแห้ง) จากปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณผลผลิตออกมาก โคมีชีวิต จากความนิยมที่เพิ่มขึ้นในการบริโภคสินค้านำเข้า ส่งผลให้ราคาผลผลิตในประเทศลดลง <strong>สำหรับสินค้าที่ราคาปรับสูงขึ้น</strong> ประกอบด้วย ยางพารา เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมของประเทศคู่ค้าปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับการเปิดตลาดส่งออกในภูมิภาคใหม่ ทำให้ความต้องการสินค้าสำหรับส่งออกเพิ่มขึ้น ผลปาล์มสด จากปริมาณผลผลิตในตลาดโลกที่มีน้อย ในขณะที่ความต้องการสินค้าเพิ่มจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทุเรียน และสับปะรดโรงงาน จากความต้องการของตลาดต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น สุกรมีชีวิต จากฐานของราคาในปีก่อนที่ต่ำจากการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศในปริมาณมาก ประกอบกับปริมาณผลผลิตในปีนี้ที่ลดลง และกุ้งแวนนาไม จากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงเนื่องจากต้นทุนการเพาะเลี้ยงที่สูงขึ้น <strong>หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.3 </strong>จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ ประกอบด้วย กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันก๊าด ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 เนื่องจากเคลื่อนไหวตามทิศทางราคาตลาดโลก กลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ แผงวงจรพิมพ์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำและวงจรรวม Integrated Circuit (IC) และอุปกรณ์หน่วยรับข้อมูล/แสดงผล ตามปัจจัยอุปสงค์ที่ชะลอตัวลง กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ได้แก่ เอทานอล สารพอลิเมอร์และสารเคมีอินทรีย์อื่น ๆ เม็ดพลาสติกและพลาสติกขั้นต้น ปรับราคาตามวัตถุดิบที่ลดลง กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ เนื้อปลาสดแช่แข็ง ปลากระป๋อง ปลาป่น มันเส้น ข้าวนึ่ง และกลุ่มน้ำตาลทราย ตามอัตราแลกเปลี่ยนและความต้องการของตลาดโลก และกลุ่มโลหะขั้นมูลฐาน ได้แก่ เหล็กแท่ง เหล็กแผ่น ท่อเหล็กกล้า เหล็กเส้น เหล็กฉาก เหล็กรูปตัวซี ตามปัจจัยอุปสงค์ที่ชะลอตัวลง <strong>ขณะที่มีการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ</strong> ประกอบด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ ยางนอกและยางในรถยนต์ ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น เนื่องจากความต้องการของผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องมีความต้องการเพิ่มขึ้น กลุ่มยานยนต์ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ได้แก่ รถกระบะ รถบรรทุกขนาดเล็กและรถบรรทุกขนาดใหญ่ ปรับราคาขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบและค่าแรงงาน และกลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้แก่ ทองคำ เคลื่อนไหวตามอุปสงค์ของตลาดโลก <strong>ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง สูงขึ้นร้อยละ 0.5</strong> จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติเหลว (NG) และสินแร่โลหะ (สังกะสี) ซึ่งราคาเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับตลาดโลก&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>แนวโน้มดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนมีนาคม 2568 คาดว่ามีแนวโน้มขยายตัวในอัตราค่อนข้างต่ำกว่าปีที่ผ่านมา</strong> โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก 1) ความต้องการบริโภคในภาพรวมที่สูงขึ้นจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ การลดอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน และหนี้ครัวเรือนที่ลดระดับลงอย่างต่อเนื่อง 2) คำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้นในภาคการผลิตเพื่อการส่งออก ทดแทนสินค้าจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกเดิมที่ได้รับผลจากนโยบายทางการค้าสหรัฐอเมริกา ส่วนปัจจัยกดดัน ได้แก่ 1) ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรในภาพรวมที่มากกว่าปีก่อน กระทบต่อราคาขายในประเทศและการแข่งขันในตลาดโลก 2) การนำเข้าสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายทางการค้าฯ กดดันราคาผู้ผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ และ 3) ราคาพลังงานที่มีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับต่ำกว่าปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านอัตราแลกเปลี่ยน และผลกระทบจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ยังคงมีความไม่แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตในทิศทางใด ทั้งนี้ จะต้องมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>นายพูนพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า</strong> ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ปรับตัวผันผวนอยู่ในกรอบแคบๆ โดยมีปัจจัยจากภายนอกเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดผลกระทบ ทั้งนี้ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เห็นว่าควรมีมาตรการหรือแนวทางในการรักษาเสถียรภาพของผู้ประกอบการผลิตภายในประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกรที่ปัจจุบันได้รับผลกระทบจากการแข่งขันด้านราคาในตลาดโลก เช่น 1) การให้โควต้าสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการปลูกพืชเศรษฐกิจทางเลือก เพื่อจูงใจให้เกษตรกรบางส่วนลดพื้นที่ในการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักที่ราคามีความผันผวนขึ้นกับตลาดโลก และ 2) ส่งเสริมการกระจายตลาดของผลผลิตทางการเกษตรแปรรูป โดยเฉพาะในตลาดส่งออกที่มีศักยภาพ สำหรับภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐควรผลักดันสนับสนุนการร่วมลงทุนจากต่างชาติ เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีในภาคการผลิต ยกระดับอุตสาหกรรมในภาพรวมให้มีประสิทธิภาพ และเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เผยว่า ภาพรวมดัชนีราคาผู้ผลิตของไทย เดือนกุมภาพันธ์ 2568 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2567 หดตัวเล็กน้อยจากราคาสินค้า หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ที่มีทิศทางเคลื่อนไหวตามราคาตลาดโลกจากอุปสงค์ของตลาดปลายทาง และผลกระทบจากมาตรการทางการค้าโลก และราคาสินค้าหมวดผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ที่ปัจจุบันเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดโลก โดยเฉพาะประเทศผู้ส่งออกในภูมิภาค ส่งผลให้ภาพรวมของราคาผู้ผลิต ยังคงมีความผันผวนในระดับที่ทรงตัว โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 

          ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนกุมภาพันธ์ 2568 เท่ากับ 111.3 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ลดลงร้อยละ 0.3 (YoY) เป็นผลจากการลดลงของราคาสินค้า หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง ลดลงร้อยละ 0.3 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า จากฐานราคาของปีก่อนที่สูง ประกอบกับประเทศผู้ส่งออกรายสำคัญยกเลิกมาตรการระงับการส่งออก ทำให้ผลผลิตในตลาดโลกมีปริมาณสูงขึ้น อ้อย จากฐานราคาของปีก่อนที่สูง ประกอบกับปริมาณผลผลิตในปีนี้ที่มากกว่าปีก่อน หัวมันสำปะหลังสด จากตลาดปลายทางสำคัญลดปริมาณการนำเข้าผลผลิตจากไทยพืชผัก (มะนาว พริกแห้ง) จากปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณผลผลิตออกมาก โคมีชีวิต จากความนิยมที่เพิ่มขึ้นในการบริโภคสินค้านำเข้า ส่งผลให้ราคาผลผลิตในประเทศลดลง สำหรับสินค้าที่ราคาปรับสูงขึ้น ประกอบด้วย ยางพารา เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมของประเทศคู่ค้าปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับการเปิดตลาดส่งออกในภูมิภาคใหม่ ทำให้ความต้องการสินค้าสำหรับส่งออกเพิ่มขึ้น ผลปาล์มสด จากปริมาณผลผลิตในตลาดโลกที่มีน้อย ในขณะที่ความต้องการสินค้าเพิ่มจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทุเรียน และสับปะรดโรงงาน จากความต้องการของตลาดต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น สุกรมีชีวิต จากฐานของราคาในปีก่อนที่ต่ำจากการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศในปริมาณมาก ประกอบกับปริมาณผลผลิตในปีนี้ที่ลดลง และกุ้งแวนนาไม จากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงเนื่องจากต้นทุนการเพาะเลี้ยงที่สูงขึ้น หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.3 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ ประกอบด้วย กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันก๊าด ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 เนื่องจากเคลื่อนไหวตามทิศทางราคาตลาดโลก กลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ แผงวงจรพิมพ์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำและวงจรรวม Integrated Circuit (IC) และอุปกรณ์หน่วยรับข้อมูล/แสดงผล ตามปัจจัยอุปสงค์ที่ชะลอตัวลง กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ได้แก่ เอทานอล สารพอลิเมอร์และสารเคมีอินทรีย์อื่น ๆ เม็ดพลาสติกและพลาสติกขั้นต้น ปรับราคาตามวัตถุดิบที่ลดลง กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ เนื้อปลาสดแช่แข็ง ปลากระป๋อง ปลาป่น มันเส้น ข้าวนึ่ง และกลุ่มน้ำตาลทราย ตามอัตราแลกเปลี่ยนและความต้องการของตลาดโลก และกลุ่มโลหะขั้นมูลฐาน ได้แก่ เหล็กแท่ง เหล็กแผ่น ท่อเหล็กกล้า เหล็กเส้น เหล็กฉาก เหล็กรูปตัวซี ตามปัจจัยอุปสงค์ที่ชะลอตัวลง ขณะที่มีการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ประกอบด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ ยางนอกและยางในรถยนต์ ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น เนื่องจากความต้องการของผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องมีความต้องการเพิ่มขึ้น กลุ่มยานยนต์ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ได้แก่ รถกระบะ รถบรรทุกขนาดเล็กและรถบรรทุกขนาดใหญ่ ปรับราคาขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบและค่าแรงงาน และกลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้แก่ ทองคำ เคลื่อนไหวตามอุปสงค์ของตลาดโลก ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง สูงขึ้นร้อยละ 0.5 จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติเหลว (NG) และสินแร่โลหะ (สังกะสี) ซึ่งราคาเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับตลาดโลก 

          แนวโน้มดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนมีนาคม 2568 คาดว่ามีแนวโน้มขยายตัวในอัตราค่อนข้างต่ำกว่าปีที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก 1) ความต้องการบริโภคในภาพรวมที่สูงขึ้นจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ การลดอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน และหนี้ครัวเรือนที่ลดระดับลงอย่างต่อเนื่อง 2) คำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้นในภาคการผลิตเพื่อการส่งออก ทดแทนสินค้าจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกเดิมที่ได้รับผลจากนโยบายทางการค้าสหรัฐอเมริกา ส่วนปัจจัยกดดัน ได้แก่ 1) ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรในภาพรวมที่มากกว่าปีก่อน กระทบต่อราคาขายในประเทศและการแข่งขันในตลาดโลก 2) การนำเข้าสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายทางการค้าฯ กดดันราคาผู้ผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ และ 3) ราคาพลังงานที่มีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับต่ำกว่าปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านอัตราแลกเปลี่ยน และผลกระทบจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ยังคงมีความไม่แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตในทิศทางใด ทั้งนี้ จะต้องมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

          นายพูนพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ปรับตัวผันผวนอยู่ในกรอบแคบๆ โดยมีปัจจัยจากภายนอกเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดผลกระทบ ทั้งนี้ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เห็นว่าควรมีมาตรการหรือแนวทางในการรักษาเสถียรภาพของผู้ประกอบการผลิตภายในประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกรที่ปัจจุบันได้รับผลกระทบจากการแข่งขันด้านราคาในตลาดโลก เช่น 1) การให้โควต้าสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการปลูกพืชเศรษฐกิจทางเลือก เพื่อจูงใจให้เกษตรกรบางส่วนลดพื้นที่ในการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักที่ราคามีความผันผวนขึ้นกับตลาดโลก และ 2) ส่งเสริมการกระจายตลาดของผลผลิตทางการเกษตรแปรรูป โดยเฉพาะในตลาดส่งออกที่มีศักยภาพ สำหรับภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐควรผลักดันสนับสนุนการร่วมลงทุนจากต่างชาติ เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีในภาคการผลิต ยกระดับอุตสาหกรรมในภาพรวมให้มีประสิทธิภาพ และเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์

เผยแพร่เมื่อวันที่ 03 มีนาคม 2568