สนค. เปิดบริการใหม่ “คิดค้า Briefing: ปักหมุดสินค้าไทยรุกตลาดจีน” เปิดข้อมูลเจาะลึกตลาดจีนรายมณฑล ดันสินค้าไทยขยายตลาดต่อเนื่อง

สนค. เปิดบริการใหม่ “คิดค้า Briefing: ปักหมุดสินค้าไทยรุกตลาดจีน” เปิดข้อมูลเจาะลึกตลาดจีนรายมณฑล ดันสินค้าไทยขยายตลาดต่อเนื่อง

avatar

Administrator


323


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/สนค. เปิดบริการใหม่ คิดค้า Briefing ปักหมุดสินค้าไทยรุกตลาดจีน.pdf" target="_blank">สนค. เปิดบริการใหม่ คิดค้า Briefing ปักหมุดสินค้าไทยรุกตลาดจีน.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (ผอ.สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการขยายผลความสำเร็จของการบริการข้อมูล &ldquo;<strong>คิดค้า Briefing</strong>&rdquo; ที่นำเสนอข้อมูลเศรษฐกิจการค้าเชิงลึกในรูปแบบของการเล่าเรื่อง (Data Storytelling) ที่เข้าใจง่ายและใช้งานสะดวก โดยล่าสุดได้เปิดตัวบริการใหม่ หัวข้อ &ldquo;<strong>ปักหมุดสินค้าไทยรุกตลาดจีน</strong>&rdquo; ที่นำเสนอข้อมูลการค้าเชิงลึกในระดับมณฑลของจีน เพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยตัดสินใจเชิงนโยบาย ปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจ และเพิ่มโอกาสในการส่งออกไปตลาดจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถเข้าใช้งานได้แล้วบนเว็บไซต์ &ldquo;<strong>คิดค้า.com</strong>&rdquo;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; บริการข้อมูล &ldquo;ปักหมุดสินค้าไทยรุกตลาดจีน&rdquo; เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานของกระทรวงพาณิชย์ ที่มุ่งส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าระหว่างไทยและจีน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ โดยจีนเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทยมาเป็นเวลากว่าทศวรรษ มีมูลค่าการค้าระหว่างกันสูงสุดต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา และในปี 2567 จีนมีสัดส่วนการค้า คิดเป็นประมาณร้อยละ 19 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย ซึ่งบริการดังกล่าวมุ่งเน้นการเพิ่มโอกาสทางการค้าและขยายตลาดสู่พื้นที่ภูมิภาคต่าง ๆ ของจีน ที่มีความแตกต่างกันทั้งขนาดพื้นที่ จำนวนประชากร ระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนวิถีชีวิตและพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคของผู้คน โดยนำเสนอข้อมูลในระดับ &ldquo;มณฑล&rdquo; เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงข้อมูลสำคัญ และใช้ประโยชน์ในการวางแผนการค้าในตลาดจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่&nbsp;</p>

<ul>
	<li><u>เอกสารสรุปข้อมูลสำคัญ (Factsheet)</u> ของแต่ละมณฑลที่สามารถดาวน์โหลดได้ทันที เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นได้อย่างรวดเร็ว ประกอบด้วย พื้นที่ ขนาดเศรษฐกิจ จำนวนประชากร รายได้ต่อหัว และการค้าระหว่างไทยและแต่ละมณฑล&nbsp;</li>
	<li><u>การชี้เป้า/ เตือนภัย</u> สถานการณ์นำเข้าสินค้าจากไทยในมณฑลต่าง ๆ ของจีน โดยแบ่งเป็น 6 กลุ่ม ตามแนวโน้มการนำเข้าสินค้าและส่วนแบ่งตลาดของไทยในแต่ละมณฑล เพื่อสนับสนุนการวางแผนทางการค้าอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมไปถึงข้อมูลเชิงลึกด้านผลไม้ส่งออกสำคัญของไทย ซึ่งนำเสนอการเปรียบเทียบสถานการณ์ทางการค้าของผลไม้ไทยชนิดต่าง ๆ กับประเทศคู่แข่งอีกด้วย &nbsp;</li>
</ul>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; โดยมีตัวอย่างข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้&nbsp;<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1) การค้าระหว่างไทยและจีนในปี 2567 มีมูลค่า 134,236 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มณฑลที่มีมูลค่าการค้ากับไทยสูงสุด 3 อันดับแรก คือ กวางตุ้ง มูลค่า 31,488.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมา คือ เจียงซู มูลค่า 18,871.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเจ้อเจียง มูลค่า 17,333.47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นอกจากนั้น ยังพบ<u>มณฑลดาวรุ่ง</u>ที่มีความต้องการนำเข้าสินค้าไทยสูงสุด 3 อันดับแรก คือ มณฑลเซี่ยงไฮ้ มูลค่าการนำเข้าจากไทย 6,347.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 7.99% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA) ตามด้วยเสฉวน มูลค่าการนำเข้า 714.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 47.65%AoA และหูเป่ย มูลค่าการนำเข้า 683.11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 79.86%AoA</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2) กลุ่มสินค้าไทยที่จีนนำเข้ามูลค่าสูงสุด 3 อันดับแรก คือ กลุ่มผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง โดย<u>มณฑลดาวรุ่ง</u>ที่น่าสนใจ คือ มณฑลหูเป่ย มูลค่า 175.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 367.15%AoA และไห่หนาน 57.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 45.57%AoA &nbsp;สำหรับกลุ่มเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มณฑลที่น่าสนใจ คือ เจียงซู มูลค่า 830.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 10.94%AoA และเซี่ยงไฮ้ 459.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 45.97%AoA และกลุ่มแผงวงจรไฟฟ้า ตลาดที่น่าสนใจ คือ มณฑลฝูเจี้ยน มูลค่า 69.46 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 12.55%AoA<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สำหรับ<u>สินค้าดาวรุ่งของไทย</u>ที่จีนนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ สินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆ มูลค่า 1,976.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 9.70%AoA &nbsp;โดยมณฑลที่น่าสนใจ คือ มณฑลเจียงซู 364.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 20.19%AoA &nbsp;ถัดมา คือ สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรอื่น ๆ 1,315.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 30.08% ตลาดที่น่าสนใจ คือ เจ้อเจียง 334.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 98.48% และไม้แปรรูป 1,246.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 25.75%AoA &nbsp;มณฑลที่น่าจับตามอง คือ มณฑลกวางตุ้ง 940.72 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 31.51%AoA</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3) ในส่วนของสถานการณ์ผลไม้ไทยในตลาดจีน พบว่า ไทยยังครองตำแหน่งแหล่งนำเข้าผลไม้อันดับหนึ่งของจีน ด้วยส่วนแบ่งตลาด 52.71% โดยผลไม้ไทยที่จีนนำเข้ามูลค่าสูงสุด ได้แก่ ทุเรียนสด มังคุดสดหรือแห้ง และลำไยสด นอกจากนี้ ยังมีผลไม้ไทยชนิดอื่นที่ได้รับความสนใจจากจีนเช่นกัน เช่น เกรปฟรุ๊ตและส้มโอ ที่มีการนำเข้าขยายตัว 16.12%AoA รวมถึงมีหลายมณฑลที่นำเข้าผลไม้ไทยเพิ่มขึ้น เช่น มณฑลเสฉวน มูลค่า 269.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 79.0%AoA เซี่ยงไฮ้ 267.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 11.89%AoA และเหอเป่ย 228.95 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 57.75%AoA</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า การพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของจีนส่งผลให้ความเป็นเมืองในมณฑลต่าง ๆ ของจีนขยายตัวขึ้น ยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนจีนในมณฑลต่าง ๆ ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญของผู้ประกอบการไทยที่จะขยายตลาดลงสู่ระดับมณฑลของจีน โดยเฉพาะมณฑลชั้นในที่มีความต้องการสินค้าไทยมากขึ้น ทั้งนี้ การให้บริการข้อมูลสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างไทยและจีนรายมณฑล &ldquo;<strong>คิดค้า Briefing</strong>&rdquo; หัวข้อ &ldquo;<strong>ปักหมุดสินค้าไทยรุกตลาดจีน</strong>&rdquo; จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุนข้อมูลแก่ผู้ประกอบการ ช่วยให้วางแผนการส่งออกได้อย่างรอบคอบและแม่นยำ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และช่วยขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจการค้าของประเทศ ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และกระชับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (ผอ.สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการขยายผลความสำเร็จของการบริการข้อมูล “คิดค้า Briefing” ที่นำเสนอข้อมูลเศรษฐกิจการค้าเชิงลึกในรูปแบบของการเล่าเรื่อง (Data Storytelling) ที่เข้าใจง่ายและใช้งานสะดวก โดยล่าสุดได้เปิดตัวบริการใหม่ หัวข้อ “ปักหมุดสินค้าไทยรุกตลาดจีน” ที่นำเสนอข้อมูลการค้าเชิงลึกในระดับมณฑลของจีน เพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยตัดสินใจเชิงนโยบาย ปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจ และเพิ่มโอกาสในการส่งออกไปตลาดจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถเข้าใช้งานได้แล้วบนเว็บไซต์ “คิดค้า.com

          บริการข้อมูล “ปักหมุดสินค้าไทยรุกตลาดจีน” เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานของกระทรวงพาณิชย์ ที่มุ่งส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าระหว่างไทยและจีน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ โดยจีนเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทยมาเป็นเวลากว่าทศวรรษ มีมูลค่าการค้าระหว่างกันสูงสุดต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา และในปี 2567 จีนมีสัดส่วนการค้า คิดเป็นประมาณร้อยละ 19 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย ซึ่งบริการดังกล่าวมุ่งเน้นการเพิ่มโอกาสทางการค้าและขยายตลาดสู่พื้นที่ภูมิภาคต่าง ๆ ของจีน ที่มีความแตกต่างกันทั้งขนาดพื้นที่ จำนวนประชากร ระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนวิถีชีวิตและพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคของผู้คน โดยนำเสนอข้อมูลในระดับ “มณฑล” เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงข้อมูลสำคัญ และใช้ประโยชน์ในการวางแผนการค้าในตลาดจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ 

  • เอกสารสรุปข้อมูลสำคัญ (Factsheet) ของแต่ละมณฑลที่สามารถดาวน์โหลดได้ทันที เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นได้อย่างรวดเร็ว ประกอบด้วย พื้นที่ ขนาดเศรษฐกิจ จำนวนประชากร รายได้ต่อหัว และการค้าระหว่างไทยและแต่ละมณฑล 
  • การชี้เป้า/ เตือนภัย สถานการณ์นำเข้าสินค้าจากไทยในมณฑลต่าง ๆ ของจีน โดยแบ่งเป็น 6 กลุ่ม ตามแนวโน้มการนำเข้าสินค้าและส่วนแบ่งตลาดของไทยในแต่ละมณฑล เพื่อสนับสนุนการวางแผนทางการค้าอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมไปถึงข้อมูลเชิงลึกด้านผลไม้ส่งออกสำคัญของไทย ซึ่งนำเสนอการเปรียบเทียบสถานการณ์ทางการค้าของผลไม้ไทยชนิดต่าง ๆ กับประเทศคู่แข่งอีกด้วย  

          โดยมีตัวอย่างข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้ 
          1) การค้าระหว่างไทยและจีนในปี 2567 มีมูลค่า 134,236 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มณฑลที่มีมูลค่าการค้ากับไทยสูงสุด 3 อันดับแรก คือ กวางตุ้ง มูลค่า 31,488.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมา คือ เจียงซู มูลค่า 18,871.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเจ้อเจียง มูลค่า 17,333.47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
          นอกจากนั้น ยังพบมณฑลดาวรุ่งที่มีความต้องการนำเข้าสินค้าไทยสูงสุด 3 อันดับแรก คือ มณฑลเซี่ยงไฮ้ มูลค่าการนำเข้าจากไทย 6,347.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 7.99% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA) ตามด้วยเสฉวน มูลค่าการนำเข้า 714.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 47.65%AoA และหูเป่ย มูลค่าการนำเข้า 683.11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 79.86%AoA

          2) กลุ่มสินค้าไทยที่จีนนำเข้ามูลค่าสูงสุด 3 อันดับแรก คือ กลุ่มผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง โดยมณฑลดาวรุ่งที่น่าสนใจ คือ มณฑลหูเป่ย มูลค่า 175.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 367.15%AoA และไห่หนาน 57.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 45.57%AoA  สำหรับกลุ่มเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มณฑลที่น่าสนใจ คือ เจียงซู มูลค่า 830.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 10.94%AoA และเซี่ยงไฮ้ 459.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 45.97%AoA และกลุ่มแผงวงจรไฟฟ้า ตลาดที่น่าสนใจ คือ มณฑลฝูเจี้ยน มูลค่า 69.46 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 12.55%AoA
          สำหรับสินค้าดาวรุ่งของไทยที่จีนนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ สินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆ มูลค่า 1,976.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 9.70%AoA  โดยมณฑลที่น่าสนใจ คือ มณฑลเจียงซู 364.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 20.19%AoA  ถัดมา คือ สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรอื่น ๆ 1,315.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 30.08% ตลาดที่น่าสนใจ คือ เจ้อเจียง 334.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 98.48% และไม้แปรรูป 1,246.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 25.75%AoA  มณฑลที่น่าจับตามอง คือ มณฑลกวางตุ้ง 940.72 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 31.51%AoA

          3) ในส่วนของสถานการณ์ผลไม้ไทยในตลาดจีน พบว่า ไทยยังครองตำแหน่งแหล่งนำเข้าผลไม้อันดับหนึ่งของจีน ด้วยส่วนแบ่งตลาด 52.71% โดยผลไม้ไทยที่จีนนำเข้ามูลค่าสูงสุด ได้แก่ ทุเรียนสด มังคุดสดหรือแห้ง และลำไยสด นอกจากนี้ ยังมีผลไม้ไทยชนิดอื่นที่ได้รับความสนใจจากจีนเช่นกัน เช่น เกรปฟรุ๊ตและส้มโอ ที่มีการนำเข้าขยายตัว 16.12%AoA รวมถึงมีหลายมณฑลที่นำเข้าผลไม้ไทยเพิ่มขึ้น เช่น มณฑลเสฉวน มูลค่า 269.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 79.0%AoA เซี่ยงไฮ้ 267.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 11.89%AoA และเหอเป่ย 228.95 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 57.75%AoA

          นายพูนพงษ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า การพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของจีนส่งผลให้ความเป็นเมืองในมณฑลต่าง ๆ ของจีนขยายตัวขึ้น ยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนจีนในมณฑลต่าง ๆ ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญของผู้ประกอบการไทยที่จะขยายตลาดลงสู่ระดับมณฑลของจีน โดยเฉพาะมณฑลชั้นในที่มีความต้องการสินค้าไทยมากขึ้น ทั้งนี้ การให้บริการข้อมูลสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างไทยและจีนรายมณฑล “คิดค้า Briefing” หัวข้อ “ปักหมุดสินค้าไทยรุกตลาดจีน” จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุนข้อมูลแก่ผู้ประกอบการ ช่วยให้วางแผนการส่งออกได้อย่างรอบคอบและแม่นยำ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และช่วยขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจการค้าของประเทศ ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และกระชับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

เผยแพร่เมื่อวันที่ 04 มีนาคม 2568