พาณิชย์เผยผลไม้ไทยขึ้นแท่นสินค้าเกษตรส่งออกสูงสุด

พาณิชย์เผยผลไม้ไทยขึ้นแท่นสินค้าเกษตรส่งออกสูงสุด

avatar

Administrator


742


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/พาณิชย์เผยผลไม้ไทยขึ้นแท่นสินค้าเกษตรส่งออกสูงสุด.pdf" target="_blank">พาณิชย์เผยผลไม้ไทยขึ้นแท่นสินค้าเกษตรส่งออกสูงสุด.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยผลการติดตามสถานการณ์การส่งออกไทยปี 2567 พบว่า ผลไม้เป็นสินค้าเกษตรส่งออกอันดับ 1 ของไทย โดยมีปัจจัยหนุนจากความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้นจากความนิยมของผู้บริโภคชาวต่างชาติในผลไม้ไทย ทั้งในด้านคุณภาพมาตรฐาน ความหลากหลายของสายพันธุ์ และรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ กล่าวว่า ในปี 2567 ไทยมีการส่งออกผลไม้ ทั้งแบบสด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง รวมมูลค่า 6,510.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (231,401 ล้านบาท) สูงกว่ามูลค่าการส่งออกเฉลี่ยในข่วง 5 ปีที่ผ่านมา (5,855.7 ล้านเหรียญสหรัฐ) คิดเป็นสัดส่วน 22.6% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมดของไทย เฉพาะการส่งออกผลไม้สด มีมูลค่า 5,149.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (183,823 ล้านบาท) โดยไทยมีผลไม้สดที่เป็นสินค้าส่งออกสำคัญหลายชนิด เช่น</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>ทุเรียน</strong> มีปริมาณการส่งออก 859,183 ตัน มูลค่า 3,755.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (134,852 ล้านบาท) มีสัดส่วนถึง 72.9% ของมูลค่าการส่งออกผลไม้สดทั้งหมดของไทย ตลาดส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) จีน (สัดส่วน 97.4% ของมูลค่าการส่งออกทุเรียนสดของไทย) (2) ฮ่องกง (1.3%) (3) เกาหลีใต้ (0.3%) (4) มาเลเซีย (0.2%) และ (5) สหรัฐอเมริกา (0.2%)<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>ลำไย</strong> มีปริมาณการส่งออก 527,927 ตัน มูลค่า 571.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (19,698 ล้านบาท) ตลาดส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) จีน (สัดส่วน 73.1% ของมูลค่าการส่งออกลำไยสดของไทย) (2) อินโดนีเซีย (14.2%) (3) เวียดนาม (6.7%) (4) มาเลเซีย (1.5%) และ (5) อินเดีย (1.0%)<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>มังคุด</strong> มีปริมาณการส่งออก 284,860 ตัน มูลค่า 490.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (17,573 ล้านบาท) ตลาดส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) จีน (สัดส่วน 91.0% ของมูลค่าการส่งออกมังคุดสดของไทย) (2) เวียดนาม (4.8%) (3) เกาหลีใต้ (1.6%) (4) สหรัฐฯ (0.5%) และ (5) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (0.3%)<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>มะพร้าวอ่อน</strong> มีปริมาณการส่งออก 257,428 ตัน มูลค่า 217.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (7,616 ล้านบาท) ตลาดส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) จีน (สัดส่วน 82.7% ของมูลค่าการส่งออกมะพร้าวอ่อนของไทย) (2) สหรัฐฯ (7.1%) (3) ฮ่องกง (2.1%) (4) สิงคโปร์ (1.6%) และ (5) เนเธอร์แลนด์ (1.5%)<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>มะม่วง</strong> ปริมาณการส่งออก 106,753 ตัน มูลค่า 133.09 ล้านเหรียญสหรัฐ (4,716 ล้านบาท) ตลาดส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) เกาหลีใต้ (สัดส่วน 61.8% ของมูลค่าการส่งออกมะม่วงสดของไทย) (2) มาเลเซีย (25.6%) (3) ญี่ปุ่น (2.9%) (4) เวียดนาม (2.8%) และ (5) สปป.ลาว (0.8%)</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ปัจจุบัน การส่งออกผลไม้สดของไทยพึ่งพาจีนเป็นตลาดหลัก ซึ่งไทยกำลังเผชิญการแข่งขันจากคู่แข่งที่เพิ่มขึ้นในตลาดจีน เช่น ทุเรียนสด ไทยได้รับการอนุญาตให้นำเข้าจีนได้อย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2546 แต่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จีนเริ่มอนุญาตการนำเข้าทุเรียนสดจากเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และมาเลเซียด้วย นอกจากนี้ ยังมีเรื่องกฎระเบียบการนำเข้าของจีนที่มีความเข้มงวดมากขึ้น ดังนั้น ไทยควรเร่งปรับตัวเพื่อที่จะรักษาส่วนแบ่งในตลาดจีนไว้ให้ได้ รวมถึงเร่งเจาะตลาดส่งออกใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะตลาดที่มีการนำเข้าผลไม้จากโลกในสัดส่วนสูงแต่ไทยยังมีส่วนแบ่งในตลาดนั้นไม่มาก เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร เพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดจีน และลดผลกระทบจากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า แม้ว่าปีที่ผ่านมา การส่งออกผลไม้ของไทยในภาพรวมหดตัว เนื่องจากผลผลิตออกน้อยสาเหตุจากสภาพอากาศที่ร้อนแล้ง ส่งผลให้ผลผลิตผลไม้หลายชนิดลดลง และกระทบต่อการส่งออก อย่างไรก็ตาม ผลไม้ก็ยังคงเป็นสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ สามารถสร้างมูลค่าให้กับประเทศและรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างมาก ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายพิชัย นริพทะพันธุ์) มีนโยบายดูแลสินค้าเกษตร เน้นย้ำให้หน่วยงานในกระทรวงพาณิชย์ให้ความสำคัญกับการขยายตลาดในประเทศ ผลักดันการส่งออกไปสู่ตลาดใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ และการสนับสนุนการนำผลผลิตไปแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งได้มีการเตรียมมาตรการบริหารจัดการผลไม้เชิงรุกปี 2568 สำหรับดูแลผลผลิตฤดูกาลใหม่ที่กำลังจะออกสู่ตลาด</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยผลการติดตามสถานการณ์การส่งออกไทยปี 2567 พบว่า ผลไม้เป็นสินค้าเกษตรส่งออกอันดับ 1 ของไทย โดยมีปัจจัยหนุนจากความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้นจากความนิยมของผู้บริโภคชาวต่างชาติในผลไม้ไทย ทั้งในด้านคุณภาพมาตรฐาน ความหลากหลายของสายพันธุ์ และรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ 

          นายพูนพงษ์ กล่าวว่า ในปี 2567 ไทยมีการส่งออกผลไม้ ทั้งแบบสด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง รวมมูลค่า 6,510.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (231,401 ล้านบาท) สูงกว่ามูลค่าการส่งออกเฉลี่ยในข่วง 5 ปีที่ผ่านมา (5,855.7 ล้านเหรียญสหรัฐ) คิดเป็นสัดส่วน 22.6% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมดของไทย เฉพาะการส่งออกผลไม้สด มีมูลค่า 5,149.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (183,823 ล้านบาท) โดยไทยมีผลไม้สดที่เป็นสินค้าส่งออกสำคัญหลายชนิด เช่น

          ทุเรียน มีปริมาณการส่งออก 859,183 ตัน มูลค่า 3,755.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (134,852 ล้านบาท) มีสัดส่วนถึง 72.9% ของมูลค่าการส่งออกผลไม้สดทั้งหมดของไทย ตลาดส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) จีน (สัดส่วน 97.4% ของมูลค่าการส่งออกทุเรียนสดของไทย) (2) ฮ่องกง (1.3%) (3) เกาหลีใต้ (0.3%) (4) มาเลเซีย (0.2%) และ (5) สหรัฐอเมริกา (0.2%)
          ลำไย มีปริมาณการส่งออก 527,927 ตัน มูลค่า 571.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (19,698 ล้านบาท) ตลาดส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) จีน (สัดส่วน 73.1% ของมูลค่าการส่งออกลำไยสดของไทย) (2) อินโดนีเซีย (14.2%) (3) เวียดนาม (6.7%) (4) มาเลเซีย (1.5%) และ (5) อินเดีย (1.0%)
          มังคุด มีปริมาณการส่งออก 284,860 ตัน มูลค่า 490.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (17,573 ล้านบาท) ตลาดส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) จีน (สัดส่วน 91.0% ของมูลค่าการส่งออกมังคุดสดของไทย) (2) เวียดนาม (4.8%) (3) เกาหลีใต้ (1.6%) (4) สหรัฐฯ (0.5%) และ (5) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (0.3%)
          มะพร้าวอ่อน มีปริมาณการส่งออก 257,428 ตัน มูลค่า 217.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (7,616 ล้านบาท) ตลาดส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) จีน (สัดส่วน 82.7% ของมูลค่าการส่งออกมะพร้าวอ่อนของไทย) (2) สหรัฐฯ (7.1%) (3) ฮ่องกง (2.1%) (4) สิงคโปร์ (1.6%) และ (5) เนเธอร์แลนด์ (1.5%)
          มะม่วง ปริมาณการส่งออก 106,753 ตัน มูลค่า 133.09 ล้านเหรียญสหรัฐ (4,716 ล้านบาท) ตลาดส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) เกาหลีใต้ (สัดส่วน 61.8% ของมูลค่าการส่งออกมะม่วงสดของไทย) (2) มาเลเซีย (25.6%) (3) ญี่ปุ่น (2.9%) (4) เวียดนาม (2.8%) และ (5) สปป.ลาว (0.8%)

          ปัจจุบัน การส่งออกผลไม้สดของไทยพึ่งพาจีนเป็นตลาดหลัก ซึ่งไทยกำลังเผชิญการแข่งขันจากคู่แข่งที่เพิ่มขึ้นในตลาดจีน เช่น ทุเรียนสด ไทยได้รับการอนุญาตให้นำเข้าจีนได้อย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2546 แต่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จีนเริ่มอนุญาตการนำเข้าทุเรียนสดจากเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และมาเลเซียด้วย นอกจากนี้ ยังมีเรื่องกฎระเบียบการนำเข้าของจีนที่มีความเข้มงวดมากขึ้น ดังนั้น ไทยควรเร่งปรับตัวเพื่อที่จะรักษาส่วนแบ่งในตลาดจีนไว้ให้ได้ รวมถึงเร่งเจาะตลาดส่งออกใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะตลาดที่มีการนำเข้าผลไม้จากโลกในสัดส่วนสูงแต่ไทยยังมีส่วนแบ่งในตลาดนั้นไม่มาก เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร เพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดจีน และลดผลกระทบจากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น 

          นายพูนพงษ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า แม้ว่าปีที่ผ่านมา การส่งออกผลไม้ของไทยในภาพรวมหดตัว เนื่องจากผลผลิตออกน้อยสาเหตุจากสภาพอากาศที่ร้อนแล้ง ส่งผลให้ผลผลิตผลไม้หลายชนิดลดลง และกระทบต่อการส่งออก อย่างไรก็ตาม ผลไม้ก็ยังคงเป็นสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ สามารถสร้างมูลค่าให้กับประเทศและรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างมาก ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายพิชัย นริพทะพันธุ์) มีนโยบายดูแลสินค้าเกษตร เน้นย้ำให้หน่วยงานในกระทรวงพาณิชย์ให้ความสำคัญกับการขยายตลาดในประเทศ ผลักดันการส่งออกไปสู่ตลาดใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ และการสนับสนุนการนำผลผลิตไปแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งได้มีการเตรียมมาตรการบริหารจัดการผลไม้เชิงรุกปี 2568 สำหรับดูแลผลผลิตฤดูกาลใหม่ที่กำลังจะออกสู่ตลาด

เผยแพร่เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2568