จับตาข้าวอินทรีย์ไทย สินค้าศักยภาพใหม่ โตรับเทรนด์โลก

จับตาข้าวอินทรีย์ไทย สินค้าศักยภาพใหม่ โตรับเทรนด์โลก

avatar

Administrator


97


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/จับตาข้าวอินทรีย์ไทย สินค้าศักยภาพใหม่ โตรับเทรนด์โลก.pdf" target="_blank">จับตาข้าวอินทรีย์ไทย สินค้าศักยภาพใหม่ โตรับเทรนด์โลก.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตลาดข้าวอินทรีย์โลกกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในทวีปยุโรปและอเมริกา ซึ่งมีความต้องการข้าวที่ปลอดภัยจากสารเคมีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้าวอินทรีย์ไทยจึงมีโอกาสเจาะตลาดเหล่านี้ได้มากขึ้น หากได้รับการพัฒนาและส่งเสริมอย่างจริงจัง เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ปัจจุบันเกษตรอินทรีย์ทั่วโลกมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) และ Research Institute of Organic Agriculture<sup>1</sup>&nbsp;รายงานว่า พื้นที่เกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองทั่วโลกมี 96.4 ล้านเฮกตาร์ (602.5 ล้านไร่) ประเทศที่มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์มากที่สุด คือ ออสเตรเลีย (53.0 ล้านเฮกตาร์ (331.3 ล้านไร่) คิดเป็น 55.0% ของพื้นที่เกษตรอินทรีย์ทั่วโลก) รองลงมา คือ อินเดีย และอาร์เจนตินา ส่วนตลาดอาหารและเครื่องดื่มอินทรีย์โลกมีมูลค่า 140.73 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดใหญ่ที่สุด ได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และจีน มีมูลค่าตลาดอาหารและเครื่องดื่มอินทรีย์ เท่ากับ 61.1, 47.0 และ 12.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สำหรับไทยมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ 241,497 เฮกตาร์ (1.51 ล้านไร่) อยู่อันดับที่ 33 ของโลก และเป็นอันดับที่ 3 ของเอเชีย สินค้าสำคัญ คือ ข้าว ผัก และผลไม้อินทรีย์ ตลาดส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญของไทย คือ สหรัฐฯ จีน อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้ ภาพรวมการค้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ไทยยังมีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ยังอยู่ในรูปแบบการซื้อขายโดยตรงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค และวางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตในเขตเมืองเท่านั้น&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; เมื่อพิจารณาเฉพาะสินค้าข้าวอินทรีย์ ตลาดข้าวอินทรีย์โลกปี 2567<sup>2</sup>&nbsp;มีมูลค่า 7,800 ล้านเหรียญสหรัฐ<sup>3</sup>&nbsp;(263,320 ล้านบาท) เติบโตอย่างต่อเนื่อง คาดว่าปี 2577 จะมีมูลค่าสูงถึง 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (405,108 ล้านบาท) สำหรับไทยมีการส่งออกกลุ่มข้าวอินทรีย์ในปี 2567 ปริมาณรวม 22,378 ตัน มูลค่า 31.1 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,095 ล้านบาท)<sup>4</sup>&nbsp;ขยายตัว 32.0% เมื่อเทียบกับปี 2566 แบ่งเป็นข้าวหอมมะลิอินทรีย์ (สัดส่วน 72.1%) ข้าวกล้องอินทรีย์ (23.1%) ข้าวขาวอินทรีย์ (3.3%) และปลายข้าวอินทรีย์ (1.5%) สำหรับตลาดส่งออกข้าวอินทรีย์สำคัญของไทย ได้แก่ สหรัฐฯ (สัดส่วน 47.4%) อิตาลี (12.8%) สวิตเซอร์แลนด์ (6.1%) เนเธอร์แลนด์ (5.3%) และฝรั่งเศส (5.3%) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับสินค้าคุณภาพสูงและมีมาตรฐานความยั่งยืน</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ข้าวอินทรีย์ถือเป็นสินค้าเกษตรสำคัญของไทยซึ่งกำลังถูกพัฒนาและส่งเสริมทั้งด้านการผลิตและการค้าเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใสใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ควรมุ่งส่งเสริมด้านการสร้างแบรนด์ข้าวอินทรีย์ของไทยให้มีเรื่องราว (Brand Story) ชูเอกลักษณ์ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ สร้างความแตกต่างจากประเทศคู่แข่ง และให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้และกระตุ้นให้เกิดความต้องการบริโภคข้าวไทยในวงกว้าง รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นในมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์ของไทยให้กับผู้บริโภคทั้งในประเทศและตลาดต่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยมีมาตรฐาน &ldquo;Organic Thailand&rdquo; ที่เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ รวมถึงหลายพื้นที่ปลูกยังได้รับการรับรองมาตรฐานสากล อาทิ IFOAM, USDA Organic, EU Organic และ JAS Organic เพื่อให้เกษตรกรและผู้ประกอบการสามารถส่งออกสินค้าไปยังตลาดสำคัญได้</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า เป็นโอกาสสำคัญของเกษตรกรและผู้ประกอบการข้าวไทยที่จะปรับเปลี่ยนมาผลิตข้าวอินทรีย์ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดโลก เนื่องจากมีการแข่งขันน้อยเมื่อเทียบกับการส่งออกข้าวทั่วไป อีกทั้งตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมสินค้ารักโลก ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รวมทั้งยังช่วยสร้างความหลากหลาย และขยายตลาดใหม่ให้กับสินค้าเกษตรของไทยอีกด้วย</p>

<hr />
<p><sup>1</sup> https://www.fibl.org/en/shop-en/1747-organic-world-2024<br />
<sup>2</sup> https://www.alliedmarketresearch.com/organic-rice-market-A323748<br />
<sup>3</sup> 1 USD เท่ากับ 33.76 บาท ณ วันที่ 30 มกราคม 2568<br />
<sup>4</sup> ปี 2566 มูลค่าการส่งออกข้าวอินทรีย์ไทย 23.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (812 ล้านบาท)&nbsp;</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตลาดข้าวอินทรีย์โลกกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในทวีปยุโรปและอเมริกา ซึ่งมีความต้องการข้าวที่ปลอดภัยจากสารเคมีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้าวอินทรีย์ไทยจึงมีโอกาสเจาะตลาดเหล่านี้ได้มากขึ้น หากได้รับการพัฒนาและส่งเสริมอย่างจริงจัง เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

          ปัจจุบันเกษตรอินทรีย์ทั่วโลกมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) และ Research Institute of Organic Agriculture1 รายงานว่า พื้นที่เกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองทั่วโลกมี 96.4 ล้านเฮกตาร์ (602.5 ล้านไร่) ประเทศที่มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์มากที่สุด คือ ออสเตรเลีย (53.0 ล้านเฮกตาร์ (331.3 ล้านไร่) คิดเป็น 55.0% ของพื้นที่เกษตรอินทรีย์ทั่วโลก) รองลงมา คือ อินเดีย และอาร์เจนตินา ส่วนตลาดอาหารและเครื่องดื่มอินทรีย์โลกมีมูลค่า 140.73 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดใหญ่ที่สุด ได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และจีน มีมูลค่าตลาดอาหารและเครื่องดื่มอินทรีย์ เท่ากับ 61.1, 47.0 และ 12.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ

          สำหรับไทยมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ 241,497 เฮกตาร์ (1.51 ล้านไร่) อยู่อันดับที่ 33 ของโลก และเป็นอันดับที่ 3 ของเอเชีย สินค้าสำคัญ คือ ข้าว ผัก และผลไม้อินทรีย์ ตลาดส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญของไทย คือ สหรัฐฯ จีน อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้ ภาพรวมการค้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ไทยยังมีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ยังอยู่ในรูปแบบการซื้อขายโดยตรงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค และวางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตในเขตเมืองเท่านั้น 

          เมื่อพิจารณาเฉพาะสินค้าข้าวอินทรีย์ ตลาดข้าวอินทรีย์โลกปี 25672 มีมูลค่า 7,800 ล้านเหรียญสหรัฐ3 (263,320 ล้านบาท) เติบโตอย่างต่อเนื่อง คาดว่าปี 2577 จะมีมูลค่าสูงถึง 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (405,108 ล้านบาท) สำหรับไทยมีการส่งออกกลุ่มข้าวอินทรีย์ในปี 2567 ปริมาณรวม 22,378 ตัน มูลค่า 31.1 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,095 ล้านบาท)4 ขยายตัว 32.0% เมื่อเทียบกับปี 2566 แบ่งเป็นข้าวหอมมะลิอินทรีย์ (สัดส่วน 72.1%) ข้าวกล้องอินทรีย์ (23.1%) ข้าวขาวอินทรีย์ (3.3%) และปลายข้าวอินทรีย์ (1.5%) สำหรับตลาดส่งออกข้าวอินทรีย์สำคัญของไทย ได้แก่ สหรัฐฯ (สัดส่วน 47.4%) อิตาลี (12.8%) สวิตเซอร์แลนด์ (6.1%) เนเธอร์แลนด์ (5.3%) และฝรั่งเศส (5.3%) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับสินค้าคุณภาพสูงและมีมาตรฐานความยั่งยืน

          ข้าวอินทรีย์ถือเป็นสินค้าเกษตรสำคัญของไทยซึ่งกำลังถูกพัฒนาและส่งเสริมทั้งด้านการผลิตและการค้าเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใสใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ควรมุ่งส่งเสริมด้านการสร้างแบรนด์ข้าวอินทรีย์ของไทยให้มีเรื่องราว (Brand Story) ชูเอกลักษณ์ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ สร้างความแตกต่างจากประเทศคู่แข่ง และให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้และกระตุ้นให้เกิดความต้องการบริโภคข้าวไทยในวงกว้าง รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นในมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์ของไทยให้กับผู้บริโภคทั้งในประเทศและตลาดต่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยมีมาตรฐาน “Organic Thailand” ที่เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ รวมถึงหลายพื้นที่ปลูกยังได้รับการรับรองมาตรฐานสากล อาทิ IFOAM, USDA Organic, EU Organic และ JAS Organic เพื่อให้เกษตรกรและผู้ประกอบการสามารถส่งออกสินค้าไปยังตลาดสำคัญได้

          นายพูนพงษ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า เป็นโอกาสสำคัญของเกษตรกรและผู้ประกอบการข้าวไทยที่จะปรับเปลี่ยนมาผลิตข้าวอินทรีย์ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดโลก เนื่องจากมีการแข่งขันน้อยเมื่อเทียบกับการส่งออกข้าวทั่วไป อีกทั้งตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมสินค้ารักโลก ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รวมทั้งยังช่วยสร้างความหลากหลาย และขยายตลาดใหม่ให้กับสินค้าเกษตรของไทยอีกด้วย


1 https://www.fibl.org/en/shop-en/1747-organic-world-2024
2 https://www.alliedmarketresearch.com/organic-rice-market-A323748
3 1 USD เท่ากับ 33.76 บาท ณ วันที่ 30 มกราคม 2568
4 ปี 2566 มูลค่าการส่งออกข้าวอินทรีย์ไทย 23.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (812 ล้านบาท) 

เผยแพร่เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2568