พาณิชย์เผยอัตราเงินเฟ้อต่ำกว่าคาดการณ์ผลจากดูแลราคาสินค้า

พาณิชย์เผยอัตราเงินเฟ้อต่ำกว่าคาดการณ์ผลจากดูแลราคาสินค้า

avatar

Administrator


80


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/พาณิชย์เผยอัตราเงินเฟ้อต่ำกว่าคาดการณ์ผ.pdf" target="_blank">พาณิชย์เผยอัตราเงินเฟ้อต่ำกว่าคาดการณ์ผ.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (ผอ. สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าคาดการณ์ไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ โดยอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ระดับต่ำเป็นผลมาจากราคาพลังงานเป็นส่วนสำคัญ ซึ่งไม่ได้ส่งผลกระทบต่อรายได้ของประชาชนหรือสะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว รวมถึงผลของการดูแลค่าครองชีพของรัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ให้ทันกับสถานการณ์ต่าง ๆ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ ได้สั่งการให้กรมการค้าภายในและพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศดำเนินมาตรการเชิงรุกเพื่อดูแลค่าครองชีพของประชาชน และให้ติดตามสถานการณ์ราคาสินค้าอย่างใกล้ชิด รวมถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์ไม่ให้มีการฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า ขณะที่ การขึ้นกำแพงภาษีของสหรัฐฯ จะมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางอัตราเงินเฟ้อในอนาคตจากคาดการณ์เดิม&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สำหรับอัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2568 อยู่ที่ร้อยละ 0.84 ส่งผลให้ไตรมาสแรกของปี 2568 อยู่ที่ร้อยละ 1.08 ซึ่งต่ำกว่าคาดการณ์เดิม นอกจากนี้ ในไตรมาสที่ 2 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะต่ำกว่าร้อยละ 1.0 อย่างต่อเนื่อง ทำให้ทั้งปี 2568 อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นอกจากนี้ ยังเป็นผลจากการดำเนินงานของกระทรวงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ ได้สั่งการให้กรมการค้าภายในและพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศเร่งดูแลค่าครองชีพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลง เช่น การเปิดบริการจุดจำหน่ายน้ำมันปาล์มขวดราคาประหยัดในย่านชุมชนต่าง ๆ และปั๊มน้ำมัน การลงพื้นที่ตรวจสอบสถานการณ์ราคาและปริมาณสินค้าวัสดุก่อสร้างหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว เพื่อป้องกันการฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าและดูแลให้มีสินค้าเพียงพอ การลงพื้นที่ตรวจสอบสถานการณ์ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และการตรวจสอบหัวจ่ายปั๊มน้ำมันทั่งประเทศให้ได้มาตรฐาน โดยวางเป้าตรวจสอบไม่น้อยกว่า 16,000 หัวจ่าย เป็นต้น ซึ่งการดำเนินมาตรการเหล่านี้มีส่วนสำคัญในการดูแลค่าครองชีพของประชาชน</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับอัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไปต้องติดตามผลกระทบจากการดำเนินมาตรการกำแพงภาษีของสหรัฐฯ ต่อประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก อย่างไรก็ตามจากนโยบายของสหรัฐฯ ที่ยังมีการปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องทำให้ต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด ก่อนที่จะประเมินผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อของไทย แต่ทั้งนี้ มีสัญญาณเชิงบวกมากขึ้น หลังจากสหรัฐฯ แสดงถึงความยืดหยุ่นในการดำเนินมาตรการ ทั้งการเลื่อนบังคับใช้ออกไปอีก 90 วัน และการยกเว้นภาษีสำหรับบางสินค้า ซึ่งเป็นประเด็นที่ไทยต้องพิจารณานำมาใช้ในการเจรจาเพื่อสร้างความสมดุลใหม่ของการค้าไทยและสหรัฐฯ ทั้งนี้ คาดว่าสินค้าไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของตะกร้าเงินเฟ้อจะเชื่อมโยงกับการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ผ่าน 3 ช่องทางที่สำคัญ ดังนี้&nbsp;&nbsp;1) การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นของตลาดภายในประเทศ เมื่อสินค้าส่งออกไปสหรัฐฯ มีความยากลำบากมากขึ้น กลุ่มสินค้าเหล่านั้นอาจกลับมาทำตลาดในประเทศทดแทน ทำให้สินค้าต่าง ๆ&nbsp;&nbsp;มีการแข่งขันกันรุนแรงขึ้น 2) คู่ค้าของสหรัฐฯ จะกระจายสินค้าสู่ตลาดอื่น (Export Diversification) โดยประเทศที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ ไม่ได้ อาจระบายสินค้าสู่ตลาดใหม่รวมถึงประเทศไทย ทำให้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการนำเข้าสินค้าราคาถูกมากขึ้น และ 3) เศรษฐกิจโลกที่เติบโตต่ำกว่าคาดการณ์ ทำให้ภาคเศรษฐกิจของไทยที่พึ่งพิงอุปสงค์จากต่างประเทศ อาจได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกไปด้วย รวมถึงการลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญในตลาดโลก เช่น ราคาน้ำมัน และสินค้าทางการเกษตร เป็นต้น&nbsp;</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (ผอ. สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าคาดการณ์ไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ โดยอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ระดับต่ำเป็นผลมาจากราคาพลังงานเป็นส่วนสำคัญ ซึ่งไม่ได้ส่งผลกระทบต่อรายได้ของประชาชนหรือสะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว รวมถึงผลของการดูแลค่าครองชีพของรัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ให้ทันกับสถานการณ์ต่าง ๆ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ ได้สั่งการให้กรมการค้าภายในและพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศดำเนินมาตรการเชิงรุกเพื่อดูแลค่าครองชีพของประชาชน และให้ติดตามสถานการณ์ราคาสินค้าอย่างใกล้ชิด รวมถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์ไม่ให้มีการฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า ขณะที่ การขึ้นกำแพงภาษีของสหรัฐฯ จะมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางอัตราเงินเฟ้อในอนาคตจากคาดการณ์เดิม 

          สำหรับอัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2568 อยู่ที่ร้อยละ 0.84 ส่งผลให้ไตรมาสแรกของปี 2568 อยู่ที่ร้อยละ 1.08 ซึ่งต่ำกว่าคาดการณ์เดิม นอกจากนี้ ในไตรมาสที่ 2 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะต่ำกว่าร้อยละ 1.0 อย่างต่อเนื่อง ทำให้ทั้งปี 2568 อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย

          นอกจากนี้ ยังเป็นผลจากการดำเนินงานของกระทรวงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ ได้สั่งการให้กรมการค้าภายในและพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศเร่งดูแลค่าครองชีพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลง เช่น การเปิดบริการจุดจำหน่ายน้ำมันปาล์มขวดราคาประหยัดในย่านชุมชนต่าง ๆ และปั๊มน้ำมัน การลงพื้นที่ตรวจสอบสถานการณ์ราคาและปริมาณสินค้าวัสดุก่อสร้างหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว เพื่อป้องกันการฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าและดูแลให้มีสินค้าเพียงพอ การลงพื้นที่ตรวจสอบสถานการณ์ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และการตรวจสอบหัวจ่ายปั๊มน้ำมันทั่งประเทศให้ได้มาตรฐาน โดยวางเป้าตรวจสอบไม่น้อยกว่า 16,000 หัวจ่าย เป็นต้น ซึ่งการดำเนินมาตรการเหล่านี้มีส่วนสำคัญในการดูแลค่าครองชีพของประชาชน

          นายพูนพงษ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับอัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไปต้องติดตามผลกระทบจากการดำเนินมาตรการกำแพงภาษีของสหรัฐฯ ต่อประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก อย่างไรก็ตามจากนโยบายของสหรัฐฯ ที่ยังมีการปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องทำให้ต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด ก่อนที่จะประเมินผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อของไทย แต่ทั้งนี้ มีสัญญาณเชิงบวกมากขึ้น หลังจากสหรัฐฯ แสดงถึงความยืดหยุ่นในการดำเนินมาตรการ ทั้งการเลื่อนบังคับใช้ออกไปอีก 90 วัน และการยกเว้นภาษีสำหรับบางสินค้า ซึ่งเป็นประเด็นที่ไทยต้องพิจารณานำมาใช้ในการเจรจาเพื่อสร้างความสมดุลใหม่ของการค้าไทยและสหรัฐฯ ทั้งนี้ คาดว่าสินค้าไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของตะกร้าเงินเฟ้อจะเชื่อมโยงกับการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ผ่าน 3 ช่องทางที่สำคัญ ดังนี้  1) การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นของตลาดภายในประเทศ เมื่อสินค้าส่งออกไปสหรัฐฯ มีความยากลำบากมากขึ้น กลุ่มสินค้าเหล่านั้นอาจกลับมาทำตลาดในประเทศทดแทน ทำให้สินค้าต่าง ๆ  มีการแข่งขันกันรุนแรงขึ้น 2) คู่ค้าของสหรัฐฯ จะกระจายสินค้าสู่ตลาดอื่น (Export Diversification) โดยประเทศที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ ไม่ได้ อาจระบายสินค้าสู่ตลาดใหม่รวมถึงประเทศไทย ทำให้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการนำเข้าสินค้าราคาถูกมากขึ้น และ 3) เศรษฐกิจโลกที่เติบโตต่ำกว่าคาดการณ์ ทำให้ภาคเศรษฐกิจของไทยที่พึ่งพิงอุปสงค์จากต่างประเทศ อาจได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกไปด้วย รวมถึงการลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญในตลาดโลก เช่น ราคาน้ำมัน และสินค้าทางการเกษตร เป็นต้น 

เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2568