สนค. ร่วมกับ ม.ธรรมศาสตร์ จัดประชุมระดมสมอง ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันในอุตสาหกรรมยานยนต์ เดินหน้าจัดทำข้อเสนอแนะปรับโครงสร้างภาคการส่งออกไทย

สนค. ร่วมกับ ม.ธรรมศาสตร์ จัดประชุมระดมสมอง ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันในอุตสาหกรรมยานยนต์ เดินหน้าจัดทำข้อเสนอแนะปรับโครงสร้างภาคการส่งออกไทย

avatar

Administrator


69


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันในอุตสาหกรรมยานยนต์.pdf" target="_blank">ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันในอุตสาหกรรมยานยนต์.pdf</a><br />
<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินหน้าโครงการศึกษาแนวทางการปรับโครงสร้างภาคการส่งออกเพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยในตลาดโลกให้เติบโตอย่างยั่งยืน จัดการประชุมระดมสมอง (Focus Group) แลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้ประกอบการ และผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าการส่งออก 1.1 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.3 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด และร้อยละ 5.9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ปี 2567&nbsp;</strong></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวภายหลังเป็นประธานในการประชุมระดมสมอง (Focus Group) เรื่อง &quot;การยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันในอุตสาหกรรมยานยนต์&quot; โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากภาคเอกชน อาทิ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย สมาคมสมองกลฝังตัวไทย ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญ และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งในช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ โดยเปิดเผยว่า ประเทศไทยซึ่งพึ่งพาการส่งออกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับแนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ท่ามกลางสถานการณ์การค้าที่กำลังเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน จากทั้งปัจจัยเชิงโครงสร้างด้านการผลิตภายในประเทศ และปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกประเทศ โดยเฉพาะมาตรการขึ้นภาษีศุลกากรของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ รวมทั้งการตอบโต้จากจีน ที่มีแนวโน้มจะส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานการผลิต การลงทุน และการส่งออกของหลายประเทศทั่วโลก</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สนค. ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการศึกษาแนวทางการปรับโครงสร้างภาคการส่งออกเพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยในตลาดโลกให้เติบโตอย่างยั่งยืน จึงเห็นว่า การร่วมกันระดมสมองเพื่อกำหนดหรือหาแนวทางการปรับตัวของภาคการส่งออก เพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความผันผวนในมิติต่าง ๆ ผ่านการผลักดันสินค้าส่งออกศักยภาพใหม่ ๆ ที่มีโอกาสทางการตลาด และมีมูลค่าเพิ่มสูง จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการเพิ่มขีดความสามารถของภาคการส่งออกไทย สำหรับการจัดกิจกรรมระดมสมองกับผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ในครั้งนี้ ได้รับข้อมูลเชิงลึกและข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งครอบคลุมทั้งในประเด็นแนวทางในการยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ดั้งเดิมและการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต ความกังวลและข้อจำกัดของการพัฒนาในมิติต่าง ๆ รวมทั้งข้อเสนอแนะสำหรับภาครัฐในการสนับสนุนและส่งเสริมการผลิตและการกระจายตลาดส่งออก ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทย&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ทั้งนี้ โครงการศึกษาฯ นี้ ได้มีการศึกษาวิเคราะห์เชิงลึกของภาพรวมโครงสร้างการส่งออกและศักยภาพของสินค้าส่งออกที่สำคัญ และการวิเคราะห์กลุ่มอุตสาหกรรมศักยภาพและประเมินผลทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นจากการยกระดับการส่งออกผ่านการผลักดัน 2 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมศักยภาพ คือ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่และอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต ดังนั้น เพื่อให้ได้ผลการวิเคราะห์ที่รอบด้าน จะมีการรวบรวมความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องด้วยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงจากการประชุมระดมสมองทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา นำมาพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการปรับโครงสร้างและยกระดับภาคการส่งออกของไทย สำหรับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้ใช้ประโยชน์ เพื่อประกอบการตัดสินใจวางกลยุทธ์เปลี่ยนผ่านการผลิตกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมไปสู่กลุ่มอุตสาหกรรมศักยภาพที่ทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของในโลกอนาคตต่อไป</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินหน้าโครงการศึกษาแนวทางการปรับโครงสร้างภาคการส่งออกเพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยในตลาดโลกให้เติบโตอย่างยั่งยืน จัดการประชุมระดมสมอง (Focus Group) แลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้ประกอบการ และผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าการส่งออก 1.1 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.3 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด และร้อยละ 5.9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ปี 2567 

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวภายหลังเป็นประธานในการประชุมระดมสมอง (Focus Group) เรื่อง "การยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันในอุตสาหกรรมยานยนต์" โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากภาคเอกชน อาทิ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย สมาคมสมองกลฝังตัวไทย ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญ และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งในช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ โดยเปิดเผยว่า ประเทศไทยซึ่งพึ่งพาการส่งออกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับแนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ท่ามกลางสถานการณ์การค้าที่กำลังเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน จากทั้งปัจจัยเชิงโครงสร้างด้านการผลิตภายในประเทศ และปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกประเทศ โดยเฉพาะมาตรการขึ้นภาษีศุลกากรของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ รวมทั้งการตอบโต้จากจีน ที่มีแนวโน้มจะส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานการผลิต การลงทุน และการส่งออกของหลายประเทศทั่วโลก

          สนค. ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการศึกษาแนวทางการปรับโครงสร้างภาคการส่งออกเพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยในตลาดโลกให้เติบโตอย่างยั่งยืน จึงเห็นว่า การร่วมกันระดมสมองเพื่อกำหนดหรือหาแนวทางการปรับตัวของภาคการส่งออก เพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความผันผวนในมิติต่าง ๆ ผ่านการผลักดันสินค้าส่งออกศักยภาพใหม่ ๆ ที่มีโอกาสทางการตลาด และมีมูลค่าเพิ่มสูง จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการเพิ่มขีดความสามารถของภาคการส่งออกไทย สำหรับการจัดกิจกรรมระดมสมองกับผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ในครั้งนี้ ได้รับข้อมูลเชิงลึกและข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งครอบคลุมทั้งในประเด็นแนวทางในการยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ดั้งเดิมและการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต ความกังวลและข้อจำกัดของการพัฒนาในมิติต่าง ๆ รวมทั้งข้อเสนอแนะสำหรับภาครัฐในการสนับสนุนและส่งเสริมการผลิตและการกระจายตลาดส่งออก ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทย 

          ทั้งนี้ โครงการศึกษาฯ นี้ ได้มีการศึกษาวิเคราะห์เชิงลึกของภาพรวมโครงสร้างการส่งออกและศักยภาพของสินค้าส่งออกที่สำคัญ และการวิเคราะห์กลุ่มอุตสาหกรรมศักยภาพและประเมินผลทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นจากการยกระดับการส่งออกผ่านการผลักดัน 2 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมศักยภาพ คือ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่และอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต ดังนั้น เพื่อให้ได้ผลการวิเคราะห์ที่รอบด้าน จะมีการรวบรวมความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องด้วยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงจากการประชุมระดมสมองทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา นำมาพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการปรับโครงสร้างและยกระดับภาคการส่งออกของไทย สำหรับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้ใช้ประโยชน์ เพื่อประกอบการตัดสินใจวางกลยุทธ์เปลี่ยนผ่านการผลิตกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมไปสู่กลุ่มอุตสาหกรรมศักยภาพที่ทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของในโลกอนาคตต่อไป

เผยแพร่เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2568