สนค. รับฟังความเห็นแนวทางการส่งเสริมผู้ประกอบการ เปลี่ยนผ่านด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลควบคู่กับการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 

สนค. รับฟังความเห็นแนวทางการส่งเสริมผู้ประกอบการ เปลี่ยนผ่านด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลควบคู่กับการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 

avatar

Administrator


150


หมวดหมู่:

<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/สนค. รับฟังความเห็นแนวทางการส่งเสริมผู้ประกอบการ.pdf" target="_blank">สนค. รับฟังความเห็นแนวทางการส่งเสริมผู้ประกอบการ.pdf</a><br />
<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สำนักงานโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ จัดประชุมโดยระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ เกี่ยวกับร่างข้อเสนอแนะแนวทางสำหรับภาครัฐและภาคเอกชน ในการเปลี่ยนผ่านแบบควบคู่ (Twin Transition) ของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย และอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการไทยในการเปลี่ยนผ่านด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลควบคู่กับการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2568 ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>นางสาวณัฐิยา สุจินดา รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า</strong> (รอง ผอ.สนค.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมว่า สนค. ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตทางเศรษฐกิจการค้าของไทย จึงดำเนินโครงการศึกษาการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยในการเปลี่ยนผ่านด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลควบคู่กับการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกว่า Twin Transition โดยศึกษาและรวบรวมข้อมูล ระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งลงพื้นที่ศึกษาแนวทางการเปลี่ยนผ่านแบบควบคู่ จากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย และอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงแนวทางสำหรับภาคเอกชนในการเปลี่ยนผ่านแบบควบคู่ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการนำเสนอผลการศึกษาที่ผ่านมา และการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านแบบควบคู่ของภาคเอกชนใน<strong>อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย</strong> ได้แก่ <u>บริษัท เพอร์มา คอร์ปอเรชั่น จำกัด</u> ซึ่งเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมสิ่งทอเชิงสุขภาพของไทย และ<u>บริษัท พาลาดิน เวิร์คแวร์ จำกัด</u> ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องแบบที่ใช้เส้นใยโพลิเอสเตอร์รีไซเคิล และใน<strong>อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง</strong> ได้แก่ <u>แบรนด์โลกา</u> ที่ออกแบบและผลิตวัสดุตกแต่งบ้านและเฟอร์นิเจอร์จากวัสดุรีไซเคิล และ<u>แบรนด์เพิ่มคุณค่า</u> ที่ใช้ไม้จากสวนป่าปลูกที่มีการจัดการอย่างรับผิดชอบ ซึ่งพบว่า ทั้งสองอุตสาหกรรมมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย และผู้ประกอบการจากทั้งสองอุตสาหกรรมตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนากระบวนการผลิตและสินค้าให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยทั้งสองอุตสาหกรรมมี<u>จุดแข็ง</u>ในด้านการออกแบบสินค้าให้มีคุณสมบัติ/การใช้งาน/อัตลักษณ์เฉพาะ การเลือกใช้วัสดุและกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการผลิต การออกแบบผลิตภัณฑ์ การบริหารจัดการ และการตลาด อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) 3D Printing และระบบอัตโนมัติ ซึ่งช่วยลดของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต และใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการในทั้งสองอุตสาหกรรม โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ยังเผชิญกับ<u>ความท้าทาย</u>หลายด้าน อาทิ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม การขอรับรองมาตรฐานของต่างประเทศ การปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและการค้าของประเทศคู่ค้า การแข่งขันกับสินค้าจากต่างประเทศ รวมถึงความท้าทายด้านความรู้ ความเข้าใจ และการตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนผ่านทั้งในด้านดิจิทัลและด้านสิ่งแวดล้อมของแรงงาน ผู้ประกอบการที่เกี่ยวเนื่อง และผู้บริโภค<br />
&nbsp;&nbsp;<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมได้หารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างข้อเสนอแนะแนวทางสำหรับหน่วยงานภาครัฐ ในการส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถเปลี่ยนผ่านแบบควบคู่ อาทิ <u>การพัฒนามาตรฐานสินค้าให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล</u> พร้อมทั้งมีหน่วยงานเฉพาะที่รับผิดชอบการกำกับดูแล การตรวจรับรอง และการควบคุมการใช้มาตรฐานดังกล่าว เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขอรับรองมาตรฐานจากต่างประเทศที่มีต้นทุนสูง <u>การสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน</u> โดยออกแบบเครื่องมือทางการเงินที่มีเงื่อนไขเหมาะสม เช่น สินเชื่อหรือกองทุนเฉพาะกิจสำหรับการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม และมาตรการส่งเสริมการลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและเครื่องจักร <u>การส่งเสริมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญและความร่วมมือของอุตสาหกรรมในห่วงโซ่อุปทาน</u> เช่น ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ ระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้า และระบบโลจิสติกส์แบบครบวงจรที่เชื่อมโยงตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ <u>การพัฒนาทักษะแรงงานและผู้ประกอบการ</u> ทั้งด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน รวมถึง<u>การส่งเสริมการเข้าถึงตลาดและการสร้างความต้องการสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม</u> เช่น การกำหนดมาตรการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การสนับสนุนผู้ประกอบการให้เข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติ การเผยแพร่ข้อมูลกฎระเบียบของประเทศคู่ค้าให้เข้าถึงง่าย และการสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจของผู้บริโภคเพื่อให้เลือกใช้สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; รอง ผอ.สนค. กล่าวทิ้งท้ายว่า การขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านแบบควบคู่ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย และอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ถือเป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพให้กับผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ พร้อมทั้งยกระดับภาพลักษณ์สินค้าไทยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและทันสมัย และส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลและเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) อย่างยั่งยืน</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          สำนักงานโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ จัดประชุมโดยระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ เกี่ยวกับร่างข้อเสนอแนะแนวทางสำหรับภาครัฐและภาคเอกชน ในการเปลี่ยนผ่านแบบควบคู่ (Twin Transition) ของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย และอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการไทยในการเปลี่ยนผ่านด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลควบคู่กับการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2568 ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท 

          นางสาวณัฐิยา สุจินดา รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (รอง ผอ.สนค.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมว่า สนค. ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตทางเศรษฐกิจการค้าของไทย จึงดำเนินโครงการศึกษาการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยในการเปลี่ยนผ่านด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลควบคู่กับการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกว่า Twin Transition โดยศึกษาและรวบรวมข้อมูล ระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งลงพื้นที่ศึกษาแนวทางการเปลี่ยนผ่านแบบควบคู่ จากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย และอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงแนวทางสำหรับภาคเอกชนในการเปลี่ยนผ่านแบบควบคู่ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs 

          ในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการนำเสนอผลการศึกษาที่ผ่านมา และการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านแบบควบคู่ของภาคเอกชนในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย ได้แก่ บริษัท เพอร์มา คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมสิ่งทอเชิงสุขภาพของไทย และบริษัท พาลาดิน เวิร์คแวร์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องแบบที่ใช้เส้นใยโพลิเอสเตอร์รีไซเคิล และในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ได้แก่ แบรนด์โลกา ที่ออกแบบและผลิตวัสดุตกแต่งบ้านและเฟอร์นิเจอร์จากวัสดุรีไซเคิล และแบรนด์เพิ่มคุณค่า ที่ใช้ไม้จากสวนป่าปลูกที่มีการจัดการอย่างรับผิดชอบ ซึ่งพบว่า ทั้งสองอุตสาหกรรมมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย และผู้ประกอบการจากทั้งสองอุตสาหกรรมตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนากระบวนการผลิตและสินค้าให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยทั้งสองอุตสาหกรรมมีจุดแข็งในด้านการออกแบบสินค้าให้มีคุณสมบัติ/การใช้งาน/อัตลักษณ์เฉพาะ การเลือกใช้วัสดุและกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการผลิต การออกแบบผลิตภัณฑ์ การบริหารจัดการ และการตลาด อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) 3D Printing และระบบอัตโนมัติ ซึ่งช่วยลดของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต และใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการในทั้งสองอุตสาหกรรม โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ยังเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน อาทิ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม การขอรับรองมาตรฐานของต่างประเทศ การปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและการค้าของประเทศคู่ค้า การแข่งขันกับสินค้าจากต่างประเทศ รวมถึงความท้าทายด้านความรู้ ความเข้าใจ และการตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนผ่านทั้งในด้านดิจิทัลและด้านสิ่งแวดล้อมของแรงงาน ผู้ประกอบการที่เกี่ยวเนื่อง และผู้บริโภค
  
          นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมได้หารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างข้อเสนอแนะแนวทางสำหรับหน่วยงานภาครัฐ ในการส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถเปลี่ยนผ่านแบบควบคู่ อาทิ การพัฒนามาตรฐานสินค้าให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล พร้อมทั้งมีหน่วยงานเฉพาะที่รับผิดชอบการกำกับดูแล การตรวจรับรอง และการควบคุมการใช้มาตรฐานดังกล่าว เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขอรับรองมาตรฐานจากต่างประเทศที่มีต้นทุนสูง การสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยออกแบบเครื่องมือทางการเงินที่มีเงื่อนไขเหมาะสม เช่น สินเชื่อหรือกองทุนเฉพาะกิจสำหรับการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม และมาตรการส่งเสริมการลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและเครื่องจักร การส่งเสริมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญและความร่วมมือของอุตสาหกรรมในห่วงโซ่อุปทาน เช่น ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ ระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้า และระบบโลจิสติกส์แบบครบวงจรที่เชื่อมโยงตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาทักษะแรงงานและผู้ประกอบการ ทั้งด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน รวมถึงการส่งเสริมการเข้าถึงตลาดและการสร้างความต้องการสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การกำหนดมาตรการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การสนับสนุนผู้ประกอบการให้เข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติ การเผยแพร่ข้อมูลกฎระเบียบของประเทศคู่ค้าให้เข้าถึงง่าย และการสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจของผู้บริโภคเพื่อให้เลือกใช้สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

          รอง ผอ.สนค. กล่าวทิ้งท้ายว่า การขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านแบบควบคู่ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย และอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ถือเป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพให้กับผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ พร้อมทั้งยกระดับภาพลักษณ์สินค้าไทยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและทันสมัย และส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลและเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) อย่างยั่งยืน

เผยแพร่เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2568