รมว.พาณิชย์ จตุพร เกาะติดสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา สั่งช่วยผู้ประกอบการและเกษตรกร

รมว.พาณิชย์ จตุพร เกาะติดสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา สั่งช่วยผู้ประกอบการและเกษตรกร

avatar

Administrator


56


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/รมว.พาณิชย์ จตุพร เกาะติดสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา.pdf" target="_blank">รมว.พาณิชย์ จตุพร เกาะติดสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา.pdf</a><br />
<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า นายจตุพร บุรุษพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ติดตามสถานการณ์ความตึงเครียดตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา โดยในช่วงที่ผ่านมา สำนักงานพาณิชย์จังหวัด (สพจ.) และกรมการค้าภายใน ได้เร่งระบายสินค้าตกค้างที่ไม่สามารถส่งไปจำหน่ายยังกัมพูชา โดยเฉพาะผลผลิตทางการเกษตร โดยจัดสรรพื้นที่จำหน่ายและเชื่อมโยงผู้รับซื้อ ดำเนินการแล้วทั้งสิ้น 36 ครั้ง ใน 7 จังหวัดชายแดน ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี ตราด และสุรินทร์ สามารถระบายผลไม้ได้ 110,000 กิโลกรัม (มูลค่า 5.44 ล้านบาท) และระบายผลผลิตทางการเกษตรอื่น ๆ เช่น ไก่พื้นเมือง เป็ด และนมสด ช่วยบรรเทาผลกระทบให้แก่ผู้ประกอบการ ผู้ค้ารายย่อย พี่น้องเกษตรกร และชาวบ้านในพื้นที่ได้ส่วนหนึ่ง&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; เพื่อให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม กระทรวงพาณิชย์จะจัดจุดจำหน่ายและงานแสดงสินค้าอีกจำนวน 6 ครั้ง ในช่วง 2 เดือนข้างหน้านี้ โดยมีกำหนดจัดที่จังหวัดอุบลราชธานี (วันที่ 8-13 กรกฎาคม 2568 ณ ห้างสุนีย์ ดำเนินการโดย สพจ.อุบลราชธานี) จังหวัดจันทบุรี (วันที่ 14-20 และวันที่ 21-27 กรกฎาคม 2568 ณ ห้างเซ็นทรัล ดำเนินการโดย สพจ.ตราด และ สพจ.จันทบุรี ตามลำดับ) และจังหวัดศรีสะเกษ (วันที่ 18-20 กรกฎาคม และวันที่ 1-3 สิงหาคม 2568 ณ ห้างบิ๊กซี ดำเนินการโดย สพจ.ศรีสะเกษ)</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ยังได้สั่งการให้ดำเนินการเพิ่มเติม เพื่อให้มีความทั่วถึงมากยิ่งขึ้น โดยกำชับให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระทรวงพาณิชย์ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และบูรณาการร่วมกับหน่วยงานด้านความมั่นคงในการประเมินสถานการณ์และดำเนินมาตรการอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการบริหารจัดการผลไม้โดยกรมการค้าภายในที่มีอยู่ด้วยกันหลายมาตรการ อาทิ จัดกิจกรรมรณรงค์บริโภคผลไม้ (Thai Fruits Festival 2025) ร่วมกับไปรษณีย์ไทยในการจัดส่งกล่องส่งผลไม้ฟรี และเปิดให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนสั่งซื้อผลไม้ ซึ่งได้ดำเนินการอยู่ในขณะนี้และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เป็นความร่วมมือในการช่วยเหลือกัน ตามนโยบาย &quot;ไทยทำ ไทยใช้ ไทยช่วยไทย&quot;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ไม่ว่าจะใช้เวลามากน้อยเพียงใดในการคลี่คลายสถานการณ์ความตึงเครียดดังกล่าว กระทรวงพาณิชย์ได้เตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs และเกษตรกร ให้มีความเข้มแข็งและพร้อมปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และสามารถแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ ทางการค้าและเติบโตอย่างยั่งยืน โดยพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ให้ผู้ประกอบการและเกษตรกร โดยเฉพาะในเรื่องการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี นวัตกรรม และอัตลักษณ์ไทย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและเสริมโอกาสใหม่ให้มากยิ่งขึ้น</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า นายจตุพร บุรุษพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ติดตามสถานการณ์ความตึงเครียดตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา โดยในช่วงที่ผ่านมา สำนักงานพาณิชย์จังหวัด (สพจ.) และกรมการค้าภายใน ได้เร่งระบายสินค้าตกค้างที่ไม่สามารถส่งไปจำหน่ายยังกัมพูชา โดยเฉพาะผลผลิตทางการเกษตร โดยจัดสรรพื้นที่จำหน่ายและเชื่อมโยงผู้รับซื้อ ดำเนินการแล้วทั้งสิ้น 36 ครั้ง ใน 7 จังหวัดชายแดน ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี ตราด และสุรินทร์ สามารถระบายผลไม้ได้ 110,000 กิโลกรัม (มูลค่า 5.44 ล้านบาท) และระบายผลผลิตทางการเกษตรอื่น ๆ เช่น ไก่พื้นเมือง เป็ด และนมสด ช่วยบรรเทาผลกระทบให้แก่ผู้ประกอบการ ผู้ค้ารายย่อย พี่น้องเกษตรกร และชาวบ้านในพื้นที่ได้ส่วนหนึ่ง 

          เพื่อให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม กระทรวงพาณิชย์จะจัดจุดจำหน่ายและงานแสดงสินค้าอีกจำนวน 6 ครั้ง ในช่วง 2 เดือนข้างหน้านี้ โดยมีกำหนดจัดที่จังหวัดอุบลราชธานี (วันที่ 8-13 กรกฎาคม 2568 ณ ห้างสุนีย์ ดำเนินการโดย สพจ.อุบลราชธานี) จังหวัดจันทบุรี (วันที่ 14-20 และวันที่ 21-27 กรกฎาคม 2568 ณ ห้างเซ็นทรัล ดำเนินการโดย สพจ.ตราด และ สพจ.จันทบุรี ตามลำดับ) และจังหวัดศรีสะเกษ (วันที่ 18-20 กรกฎาคม และวันที่ 1-3 สิงหาคม 2568 ณ ห้างบิ๊กซี ดำเนินการโดย สพจ.ศรีสะเกษ)

          นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ยังได้สั่งการให้ดำเนินการเพิ่มเติม เพื่อให้มีความทั่วถึงมากยิ่งขึ้น โดยกำชับให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระทรวงพาณิชย์ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และบูรณาการร่วมกับหน่วยงานด้านความมั่นคงในการประเมินสถานการณ์และดำเนินมาตรการอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการบริหารจัดการผลไม้โดยกรมการค้าภายในที่มีอยู่ด้วยกันหลายมาตรการ อาทิ จัดกิจกรรมรณรงค์บริโภคผลไม้ (Thai Fruits Festival 2025) ร่วมกับไปรษณีย์ไทยในการจัดส่งกล่องส่งผลไม้ฟรี และเปิดให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนสั่งซื้อผลไม้ ซึ่งได้ดำเนินการอยู่ในขณะนี้และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เป็นความร่วมมือในการช่วยเหลือกัน ตามนโยบาย "ไทยทำ ไทยใช้ ไทยช่วยไทย"

          ไม่ว่าจะใช้เวลามากน้อยเพียงใดในการคลี่คลายสถานการณ์ความตึงเครียดดังกล่าว กระทรวงพาณิชย์ได้เตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs และเกษตรกร ให้มีความเข้มแข็งและพร้อมปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และสามารถแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ ทางการค้าและเติบโตอย่างยั่งยืน โดยพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ให้ผู้ประกอบการและเกษตรกร โดยเฉพาะในเรื่องการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี นวัตกรรม และอัตลักษณ์ไทย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและเสริมโอกาสใหม่ให้มากยิ่งขึ้น

เผยแพร่เมื่อวันที่ 08 กรกฎาคม 2568