พาณิชย์เผยความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงจากปัจจัยรอบด้าน หนุนภาครัฐเดินหน้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

พาณิชย์เผยความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงจากปัจจัยรอบด้าน หนุนภาครัฐเดินหน้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

avatar

Administrator


51


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือนมิถุนายน 2568.pdf" target="_blank">ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือนมิถุนายน 2568.pdf</a><br />
<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (ผอ.สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน จำนวน 5,652 ราย ซึ่งครอบคลุมประชาชนทั่วประเทศ พบว่า <strong>ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนมิถุนายน 2568 อยู่ที่ระดับ 46.7</strong> อยู่ต่ำกว่าระดับความเชื่อมั่น จากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ประกอบกับความกังวลจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศ อาทิ สถานการณ์หนี้ครัวเรือนและภาคการท่องเที่ยวที่ชะลอตัว&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนมิถุนายน 2568 อยู่ที่ระดับ 46.7 ปรับลดลงจากระดับ 48.9 ในเดือนพฤษภาคม 2568 โดยปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลดลงมาจาก (1) ความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของนโยบายภาษีของสหรัฐอเมริกาและความตึงเครียดของสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง รวมทั้งสถานการณ์ระหว่างไทย - กัมพูชา อาจส่งผลกระทบต่อการค้าชายแดนและสถานการณ์การเมืองในประเทศ (2) การลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ (3) ราคาสินค้าเกษตรสำคัญหลายรายการปรับลดลง ตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากกว่าปีก่อน ส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกร และ (4) ระดับหนี้ของครัวเรือนและภาคธุรกิจที่ยังอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยสนับสนุนภาพรวมเศรษฐกิจ อาทิ การดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของภาครัฐ เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนและหนี้สินของภาคธุรกิจ รวมถึงมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบข้อเสนอโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจตามแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการท่องเที่ยว ด้านการลดผลกระทบภาคการส่งออก รวมทั้งด้านเศรษฐกิจชุมชนและอื่น ๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งคาดว่ามาตรการเหล่านี้จะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของประชาชนปรับตัวดีขึ้นในระยะต่อไป</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong> ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค</strong> พบว่า ด้านเศรษฐกิจไทยส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50.35 รองลงมา คือ มาตรการของภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 13.68 การเมือง คิดเป็นร้อยละ 8.79 เศรษฐกิจโลก คิดเป็นร้อยละ 8.35 สังคม/ความมั่นคง คิดเป็นร้อยละ 7.87 ราคาสินค้าเกษตร คิดเป็นร้อยละ 6.23 ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง คิดเป็นร้อยละ 2.43 ภัยพิบัติ/โรคระบาด คิดเป็นร้อยละ 1.47 และอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 0.83 ตามลำดับ</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจำแนกรายภูมิภาค</strong> จำนวน 5 ภูมิภาค พบว่า ดัชนีอยู่ในช่วงเชื่อมั่น 1 ภาค คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ที่ระดับ 50.4 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของภาคใต้ อยู่ที่ระดับ 47.1 ภาคเหนือ อยู่ที่ระดับ 45.5 ภาคกลาง อยู่ที่ระดับ 45.1 และกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อยู่ที่ระดับ 43.6 ซึ่งปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าและไม่อยู่ในช่วงความเชื่อมั่น</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจำแนกรายอาชีพ</strong> จำนวน 7 อาชีพ พบว่า มีเพียง 1 กลุ่มอาชีพ ที่ดัชนีอยู่ในช่วงเชื่อมั่น คือ พนักงานของรัฐ อยู่ที่ระดับ 50.2 ขณะที่มี 6 กลุ่มอาชีพที่ดัชนีอยู่ต่ำกว่าช่วงเชื่อมั่น โดยนักศึกษา อยู่ที่ระดับ 48.6 ผู้ประกอบการ อยู่ที่ระดับ 47.6 เกษตรกร อยู่ที่ระดับ 46.7 พนักงานเอกชน อยู่ที่ระดับ 45.9 ไม่ได้ทำงาน/บำนาญ อยู่ที่ระดับ 44.9 และอาชีพรับจ้างอิสระ อยู่ที่ระดับ 44.4 สำหรับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังอยู่ต่ำกว่าช่วงเชื่อมั่น โดยอยู่ที่ระดับ 31.6</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า กระทรวงพาณิชย์ยังเดินหน้าดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการส่งเสริมภาคการค้าและภาคการผลิตทั้งในและต่างประเทศ โดยมีการเร่งระบายผลไม้ภาคตะวันออกช่วงปลายฤดูกาลเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการนำเข้าของประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมทั้งกำกับดูแลการนำเข้าสินค้าเกษตรคุณภาพต่ำอย่างเข้มงวดเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาในประเทศ ในขณะเดียวกัน ยังได้ผลักดันสินค้าไทยสู่ตลาดต่างประเทศผ่านการจัดแสดงในงานระดับนานาชาติ รวมถึงสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก&nbsp;</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (ผอ.สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน จำนวน 5,652 ราย ซึ่งครอบคลุมประชาชนทั่วประเทศ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนมิถุนายน 2568 อยู่ที่ระดับ 46.7 อยู่ต่ำกว่าระดับความเชื่อมั่น จากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ประกอบกับความกังวลจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศ อาทิ สถานการณ์หนี้ครัวเรือนและภาคการท่องเที่ยวที่ชะลอตัว 

          ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนมิถุนายน 2568 อยู่ที่ระดับ 46.7 ปรับลดลงจากระดับ 48.9 ในเดือนพฤษภาคม 2568 โดยปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลดลงมาจาก (1) ความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของนโยบายภาษีของสหรัฐอเมริกาและความตึงเครียดของสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง รวมทั้งสถานการณ์ระหว่างไทย - กัมพูชา อาจส่งผลกระทบต่อการค้าชายแดนและสถานการณ์การเมืองในประเทศ (2) การลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ (3) ราคาสินค้าเกษตรสำคัญหลายรายการปรับลดลง ตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากกว่าปีก่อน ส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกร และ (4) ระดับหนี้ของครัวเรือนและภาคธุรกิจที่ยังอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยสนับสนุนภาพรวมเศรษฐกิจ อาทิ การดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของภาครัฐ เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนและหนี้สินของภาคธุรกิจ รวมถึงมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบข้อเสนอโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจตามแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการท่องเที่ยว ด้านการลดผลกระทบภาคการส่งออก รวมทั้งด้านเศรษฐกิจชุมชนและอื่น ๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งคาดว่ามาตรการเหล่านี้จะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของประชาชนปรับตัวดีขึ้นในระยะต่อไป

          ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค พบว่า ด้านเศรษฐกิจไทยส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50.35 รองลงมา คือ มาตรการของภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 13.68 การเมือง คิดเป็นร้อยละ 8.79 เศรษฐกิจโลก คิดเป็นร้อยละ 8.35 สังคม/ความมั่นคง คิดเป็นร้อยละ 7.87 ราคาสินค้าเกษตร คิดเป็นร้อยละ 6.23 ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง คิดเป็นร้อยละ 2.43 ภัยพิบัติ/โรคระบาด คิดเป็นร้อยละ 1.47 และอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 0.83 ตามลำดับ

          ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจำแนกรายภูมิภาค จำนวน 5 ภูมิภาค พบว่า ดัชนีอยู่ในช่วงเชื่อมั่น 1 ภาค คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ที่ระดับ 50.4 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของภาคใต้ อยู่ที่ระดับ 47.1 ภาคเหนือ อยู่ที่ระดับ 45.5 ภาคกลาง อยู่ที่ระดับ 45.1 และกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อยู่ที่ระดับ 43.6 ซึ่งปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าและไม่อยู่ในช่วงความเชื่อมั่น

          ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจำแนกรายอาชีพ จำนวน 7 อาชีพ พบว่า มีเพียง 1 กลุ่มอาชีพ ที่ดัชนีอยู่ในช่วงเชื่อมั่น คือ พนักงานของรัฐ อยู่ที่ระดับ 50.2 ขณะที่มี 6 กลุ่มอาชีพที่ดัชนีอยู่ต่ำกว่าช่วงเชื่อมั่น โดยนักศึกษา อยู่ที่ระดับ 48.6 ผู้ประกอบการ อยู่ที่ระดับ 47.6 เกษตรกร อยู่ที่ระดับ 46.7 พนักงานเอกชน อยู่ที่ระดับ 45.9 ไม่ได้ทำงาน/บำนาญ อยู่ที่ระดับ 44.9 และอาชีพรับจ้างอิสระ อยู่ที่ระดับ 44.4 สำหรับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังอยู่ต่ำกว่าช่วงเชื่อมั่น โดยอยู่ที่ระดับ 31.6

          นายพูนพงษ์ฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า กระทรวงพาณิชย์ยังเดินหน้าดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการส่งเสริมภาคการค้าและภาคการผลิตทั้งในและต่างประเทศ โดยมีการเร่งระบายผลไม้ภาคตะวันออกช่วงปลายฤดูกาลเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการนำเข้าของประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมทั้งกำกับดูแลการนำเข้าสินค้าเกษตรคุณภาพต่ำอย่างเข้มงวดเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาในประเทศ ในขณะเดียวกัน ยังได้ผลักดันสินค้าไทยสู่ตลาดต่างประเทศผ่านการจัดแสดงในงานระดับนานาชาติ รวมถึงสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก 

เผยแพร่เมื่อวันที่ 09 กรกฎาคม 2568