ผู้เข้าชมทั้งหมด: 159
Q.
จะแก้ไขปัญหาภาวะเงินเฟ้ออย่างไร
A.
จะแก้ไขปัญหาภาวะเงินเฟ้ออย่างไร
ข้อสรุปจากธนาคารแห่งประเทศไทย
- ประชาชนจะได้รับความเดือดร้อนจากภาวะเงินเฟ้อ เนื่องจากสินค้าที่บริการมีราคาสูงขึ้น ถ้ารายได้เท่าเดิมฐานะและความเป็นอยู่จะต่ำลงจากเดิม
- คนที่มีรายได้ประจำ เช่น ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ผู้รับบำนาญ พนักงานบริษัท จะได้รับผลกระทบก่อนข้างมาก เนื่องจากรายได้คงที่เท่าเดิมแต่ราคาสินค้าแพงขึ้น
- มี 2 ทางเลือก ทางเลือกแรกลดปริมาณซื้อสินค้าลงเพราะมีเงินเท่าเดิมหรือทางที่ 2 ซื้อสินค้าที่มีคุณภาพต่ำกว่าเดิม เพื่อให้ได้สินค้าเท่าเดิม
- เมื่อเงินเฟ้อสูงขึ้น แต่คนมีเงินมาจับจ่ายใช้สอยน้อยลง พ่อค้าแม่ค้าขายของไม่ค่อยได้ ก็จะหาวิธีแก้ไขโดยลดคุณภาพสินค้าที่ขาย จะได้ขายของราคาต่ำลงได้ ในที่สุดเศรษฐกิจจะตกต่ำลงเมื่อเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง เศรษฐกิจชะลอตัวลง นักลงทุนก็จะตัดสินใจ ชะลอการลงทุนออกไปเพราะไม่มั่นใจว่าผลิตออกมาแล้วจะขายได้หรือไม่ ถ้าขายไม่ได้หรือขายได้ราคาต่ำก็มีโอกาสขาคทุน
- การที่สินค้ามีราคาเพิ่มสูงขึ้นทำให้รัฐบาลต้องใช้เงินงบประมาณมากขึ้นเพื่อจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และจัดทำบริการสาธารณะ
- นอกจากนั้น รัฐบาลยังมีภาระให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน จากราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น
- สรุปแล้วเงินเฟ้อมีผลเสียกับทุกคนในประเทศ แต่ถ้าเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเป็น เงินเฟ้อที่อยู่ในระดับเหมาะสม ก็จะเป็นผลดีกับคนส่วนใหญ่ เพราะการที่ราคาสินค้าสูงขึ้นเป็นแรงจูงใจให้ธุรกิจขยายการลงทุนเนื่องจากจะมีกำไรจากการขายสินค้ามากขึ้น
- ทางแก้ด้านนโยบาย คือ การนำนโยบายการเงินมาใช้ หมายถึงการดำเนินงานของแบงก์ชาติเพื่อเข้าไปดูแลและจัดการด้านอัตราดอกเบี้ยและ/หรือ ปริมาณเงินเพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น